ฮอกกี้น้ำแข็ง หรือไอซ์ฮอกกี้ (ICE HOCKEY) เป็นกีฬาประเภททีม ประกอบไปด้วยผู้เข้าแข่งขันข้างละ 6 คน เป็นกีฬาที่ต้องใช้ความเร็วและกำลังในการเล่นบนพื้นน้ำแข็ง และเป็นกีฬาที่ใช้ร่างกายปะทะกันอยู่บ่อย ๆ จึงทำให้ ฮอกกี้น้ำแข็ง กติกา ที่ทำให้การต่อยกันเป็นเรื่องถูกกฎ ด้วยความที่การต่อสู้ถูกบัญญัติไว้เป็นส่วนหนึ่งในกติกาการแข่งขันฮอกกี้น้ำแข็งของ NHL และลีกรองในอเมริกาเหนือ
ทำให้แต่ละทีมต่างก็คิดแผนต่างๆ เพื่อให้เป็นฝ่ายที่ได้เปรียบในการแข่งขัน และกลยุทธ์ที่ใช้ประโยชน์จากกฎการต่อสู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสุดๆ นั่นก็คือ แต่ละทีมจะมีผู้เล่นคนหนึ่งที่มีหน้าที่เป็น “มือวิวาท” หรือ “Enforcer” (จะเรียกว่า Fighter, Tough Guy หรือแม้แต่ Goon ก็ได้เช่นกัน) ซึ่งหน้าที่ในสนามก็ง่าย ๆ คอยกวนประสาทผู้เล่นดาวดังของทีมฝั่งตรงข้ามให้ตบะแตกจนเริ่มสาวหมัดใส่ตัวเองโดยเฉพาะ
ปัญจกีฬาสมัยใหม่ คืออะไร ทำความรู้จักกีฬาแบบยำ ๆ ที่มีแข่งในโอลิมปิก
ฮอกกี้น้ำแข็ง กติกา ที่ทำให้การต่อยกันในกีฬาฮอกกี้น้ำแข็งเป็นเรื่องถูกกฎ
กีฬาฮอกกี้น้ำแข็ง หรือ ไอซ์ฮอกกี้ (ICE HOCKEY) เป็นกีฬาประเภททีม ประกอบไปด้วยผู้เข้าแข่งขันข้างละ 6 คน (ผู้รักษาประตู 1 คน ผู้เล่น 5 คน) เป็นกีฬาที่ต้องใช้ความเร็วและกำลังในการเล่นบนพื้นน้ำแข็ง กีฬาฮอกกี้น้ำแข็งเป็นการเล่นตีลูกพัค (PUCK) บนพื้นสนามน้ำแข็งขนาด 30 x 60 เมตร โดยตีด้วยไม้คล้ายไม้ตีกอล์ฟ แต่ด้ามและหน้าไม้ตีที่ยาวกว่า เพื่อให้เข้าประตูขนาด 122 x 183 ซม.
เป็นกีฬาที่ผู้เล่นต้องใช้ความสามารถหลายอย่างประกอบกัน ประการแรก คือ ความสามารถด้านการสเก็ตน้ำแข็งเพราะต้องอาศัยการทรงตัวบนพื้นสเก็ตน้ำแข็ง (ICE RINK) และจะต้องมีความคล่องตัว และความคล่องแคล่วว่องไวในการเคลื่อนที่เพื่อที่จะบังคับลูกพัค และที่สำคัญคือระบบการเล่นแบบทีม
กีฬาฮอกกี้น้ำแข็งเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น จนสามารถก่อตั้งเป็นลีกกีฬาอาชีพของทวีปอเมริกาเหนืออย่าง ลีกฮอกกี้อาชีพ(NHL) ที่เป็นการแข่งขันระหว่างทีมในสหรัฐอเมริกากับแคนาดาในปี 1917 แต่ความรุนแรงในสนามที่อยู่คู่กับวงการมาอย่างยาวนาน ก็ได้ทำให้ฝ่ายจัดการแข่งขันเกิดความกังวล ทว่าวิธีการแก้ปัญหาของ NHL กลับเป็นอะไรที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะในเมื่อไม่สามารถควบคุมไม่ให้เกิดการปะทะ จนเป็นชนวนเหตุแห่งการสาวหมัดใส่กันได้อยู่แล้ว ก็อนุญาตให้ ฮอกกี้ น้ำแข็ง กติ กา ให้นักกีฬาสามารถระบายความอัดอั้นที่มีต่อกันได้ไปเลย
ดังนั้น ลีกฮอกกี้อาชีพ (NHL) จึงออก “กฎ 56” (Rule 56) ขึ้นในปี 1922 เพื่อกำกับควบคุมการต่อสู้ หรือ “ดวลหมัด” ไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง เพราะแทนที่ผู้เปิดศึกวันทรงชัยกลางสนามแข่งขันจะถูกกรรมการไล่ออกจากการแข่งขันไปเลย ผู้เล่นคนนั้นจะถูกสั่งให้ไปสงบสติอารมณ์ในคอกทำโทษ (Penalty Box หรือ Sin Bin) เป็นเวลา 5 นาที
โดยกฎสำหรับผู้เล่นที่ทนไม่ไหว เกิดอาการ “ร่างกายอยากปะทะ” นั้นก็ไม่ต้องทำอะไรให้มากความ สิ่งที่ต้องทำ คือพวกเขาจะต้อง “ทิ้ง” ทุกสิ่งที่อยู่ในมือ ไม่ว่าจะเป็นไม้ฮอกกี้หรือแม้แต่ถุงมือ เหลือแต่กำปั้นลุ่นๆ ก่อนเข้ามาซัดกันแบบตัวต่อตัว และเมื่อกรรมการเห็นว่าสมควรแก่เวลา ก็จะจับแยกแล้วเชิญคู่กรณีเข้าคอกทำโทษเป็นอันเสร็จพิธี
ปัจจุบัน “กฎ 56” หรือที่มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า “Fisticuffs” ได้ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ “กฎ 46” (Rule 46) ที่ว่าด้วยการต่อสู้ หรือ “Fighting” โดยเฉพาะ พร้อมกับเพิ่มรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ ซึ่งก็คือการเพิ่มบทลงโทษในเหตุอื่นๆ สืบเนื่องจากการต่อยกัน อย่างเช่น การถอดหมวกกันน็อกของตัวเองออกก่อนสาวหมัด ซึ่งผู้ตัดสินถือว่ามีเจตนาที่จะเข้ามาทะเลาะวิวาทโดยเฉพาะ เช่นเดียวกับการมีผู้เล่นคนอื่นนอกจากคู่กรณีเข้ามาร่วมวงด้วยเช่นกัน
โดย เคอร์รี่ เฟรเซอร์ อดีตผู้ตัดสินและเจ้าของสถิติลงชี้ขาดเกม NHL สูงสุดตลอดกาล ชี้แจงถึงสาเหตุว่า “ที่สุดแล้วมันก็เป็นเรื่องที่ทุกคนเข้าใจตรงกันครับว่า การทะเลาะวิวาทนั้นเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย จริงอยู่ว่า ลีกฮอกกี้อาชีพ(NHL) มีกฎที่เปิดช่องให้เรื่องดังกล่าวเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ แต่สุดท้ายแล้ว ผู้เล่นคนนั้นก็ต้องรับในผลที่จะตามมาอยู่ดี”
สรุป การเล่นฮอกกี้น้ำแข็ง บนลานน้ำแข็งขนาด 30×60 เมตร (ทั้ง 4 ด้านมีกำแพงกั้น ไม่มีลูกออก) ในแดนแต่ละฝ่าย มีโกลตั้งอยู่ ผู้เล่นต้องใช้ไม้ตี ลักษณะคล้ายไม้กอล์ฟ (ทำด้วยไม้ ต่อมาเป็นแกรไฟต์) บังคับ รับและส่ง ลูกพัค (Puck) ลักษณะกลมแบน สีดำ (เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 ซม. หนา 1.5 ซม. ) เข้าไปทำประตู ฝ่ายไหนทำประตูได้มากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ โดยแต่ละทีมจะมีผู้เล่น 6 คน (ผู้รักษาประตู 1 คน ผู้เล่น 5 คน) แข่งกัน 3 พีเรียด พีเรียดละ 20 นาที (พักประมาณ 15 นาที) ฮอกกี้น้ำแข็ง กติกา บางข้อคล้ายฟุตบอล อาทิ ล้ำหน้า
ส่วนการเปลี่ยนตัวผู้เล่นสามารถทำได้ตลอดเวลา แต่มีกฎเด่นอยู่คือ “กฎ 56” หรือที่มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า “Fisticuffs” ได้ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ “กฎ 46” (Rule 46) ที่ว่าด้วยการต่อสู้ หรือ “Fighting” โดยเฉพาะ พร้อมกับเพิ่มรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ ซึ่งก็คือการเพิ่มบทลงโทษในเหตุอื่นๆ สืบเนื่องจากการต่อยกัน
ขอบคุณเนื้อหาจาก : wikipedia