สำหรับใครที่กำลังสงสัยว่า MOU คืออะไร และ MOU ย่อมาจาก อะไร แล้วทำไมพรรคก้าวไกลถึงเสนอการทำ MOU เพื่อจัดตั้งคณะรัฐบาล ในไม่นานมานี้มีการลงนามเพื่อ “บันทึกความเข้าใจ” ที่รู้จักในชื่อทั่วไปคือ MOU เป็นรูปแบบการจัดทำหนังสือที่แสดงความประสงค์ของบุคคลหรือนิติบุคคลสองฝ่ายหรือมากกว่านั้น ที่จะทำความร่วมมือกัน โดยเต็มใจ เป็นวิถีแห่งการทำงานของโลกในยุคสมัยใหม่ การประสานงานและให้ความช่วยเหลือสนับสนุนด้านข้อมูลและทรัพยากรระหว่างหน่วยงานภาครัฐด้วยกันเอง และเพื่อที่จะได้เข้าใจได้มากกว่านี้เราได้รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ แบบเข้าใจง่าย ๆ มาฝากกันไปดูกันเลย
โมซาซอรัส คืออะไร จระเข้ก็ไม่ใช่ ไดโนเสาร์ก็ไม่เชิง มาหาคำตอบกัน
MOU คืออะไร และย่อมาจากอะไร มาทำความรู้จักพร้อมกับทำความเข้าใจกัน
หลายคนที่พึ่งหันมาสนใจการเมือง หรือคนที่ยังไม่จักว่า MOU คืออะไร หรือ MOU ย่อมาจาก อะไร มาไขข้อสงสัยพร้อมทำความเข้าใจต่าง ๆ เพื่อที่จะไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดในทางการเมืองหรือตัวนักการเมือง และวัตถุประสงค์ของการทำ MOU มีไว้เพื่ออะไรมาหาคำตอบกันเลย
MOU ย่อมาจาก memorandum of understanding หมายถึง “บันทึกความเข้าใจ” เป็นรูปแบบการจัดทำหนังสือที่แสดงความประสงค์ของบุคคลหรือนิติบุคคลสองฝ่ายหรือมากกว่านั้น ที่จะทำความร่วมมือกัน โดยเต็มใจ ที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุ มีการวางแผน ทำกิจกรรมร่วมกันในภาพกว้าง โดยไม่ถือว่าเป็นสัญญาผูกมัดใด ๆ (non-legally binding agreement) เนื่องจากไม่มีสภาพบังคับ
หากไม่ปฏิบัติตาม เป็นเพียงการแสดงเจตนาที่แน่วแน่ของผู้ลงนามว่าจะปฏิบัติตามเนื้อหาที่ระบุไว้ใน MOU ซึ่งปกติใช้สำหรับความตกลงที่มีขอบเขตจำกัด หรือ มิได้มีลักษณะเป็นการถาวร มักจะมีการเรียกชื่ออีกอย่างว่า “บันทึกความเข้าใจความร่วมมือ” เป็นหลักฐานยืนยัน ถึงการสนับสนุนการทำงานร่วมกัน การให้ความช่วยเหลือด้านทรัพยากร องค์ความรู้ และบุคลากร ระหว่าง หน่วยงาน
ตัวอย่างเช่น บันทึกความเข้าใจ (MOU) เรื่อง การส่งข้อมูลข่าวสารแจ้งเตือนภัยธรรมชาติผ่านบริการ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกรมอุตุนิยมวิทยา ได้ร่วมมือกับบริษัทผู้ให้บริการ เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ได้แก่ AIS, DTAC, TRUE MOVE, CAT และ TOT เป็นต้น
MOU มีผลทางกฎหมายไหม และวัตถุประสงค์ของการทำ MOU
- MOU มีผลทางกฎหมายไหม
MOU หรือ บันทึกความเข้าใจนั้น ไม่ถือว่าเป็นเป็นหนังสือสัญญาที่มีผลตามกฎหมายโดยตรง แต่จะถูกนำมาอ้างอิง เมื่อเรื่องที่สองฝ่ายที่ลงนามเกิดปัญหาจนต้องพึ่งกระบวนการทางกฎหมาย จึงจะนำบันทึกความเข้าใจดังกล่าวมากล่าวอ้าง (ยกเว้นบันทึกสัญญาที่เข้าข่ายเป็นสนธิสัญญา)
- วัตถุประสงค์ของการทำ MOU
วัตถุประสงค์ของการทำ MOU คือเพื่อร่วมมือกัน โดยเต็มใจที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไข ที่ระบุ มีการวางแผน และทำกิจกรรมร่วมกัน ในภาพกว้าง โดยไม่ถือว่าเป็นสัญญาผูกมัดใด ๆ (non-legally binding agreement)
การทำ MOU เป็นวิถีแห่งการทำงานของโลกในยุคสมัยใหม่ การประสานงานและให้ความช่วยเหลือสนับสนุนด้านข้อมูลและทรัพยากรระหว่างหน่วยงานภาครัฐด้วยกันเอง รวมถึงการบูรณาการร่วมกับภาคเอกชน นอกจากจะสร้างความเป็นเลิศและความเข้มแข็งภายในองค์กรแล้ว
ยังช่วยสนับสนุนให้เกิดการพัฒนางานให้แก่ระบบราชการอันจะก่อให้เกิดผลดีแก่ประชาชนและประเทศชาติ เช่นกัน นอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในฐานะเครื่องมือทางการบริหารนโยบายเพื่อยกระดับคุณภาพการทำงานและ ปรับปรุงการให้บริการสาธารณะที่ดีอย่างยั่งยืนแก่ส่วนรวมอย่างเป็นรูปธรรม
ในตอนนี้หลายคนคงเข้าใจแล้วว่า MOU (เอ็มโอยู) ย่อมาจาก Memorandum of Understanding แปลว่า “บันทึกความเข้าใจ” ถ้าจะอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ MOU คือ หนังสือบันทึกความเข้าใจร่วมกันโดยสมัครใจ ไม่ถือเป็นสัญญาข้อผูกมัด แต่เป็นการแสดงความตั้งใจที่ผู้ลงนามทุกๆ ฝ่ายจะยอมรับ ให้ความร่วมมือ และปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ ตามที่ MOU ระบุไว้ นั้นเอง
ขอบคุณข้อมูลจาก : wikipedia