LGBTQ+
เมื่อไม่นานมานี้ ประเทศไทยได้ถือกำเนิดกฎหมายใหม่ขึ้นมา นั่นคือการสมรสเท่าเทียม ซึ่งไม่ว่าจะเพศอะไรก็สามารถที่จะสมรสกันได้ รวมถึงได้สิทธิ์ต่าง ๆ ในคู่สมรสเฉกเช่นคู่ ชาย-หญิง ทั่วไป อีกทั้งล่าสุดต้องแก้กฎหมายกันยกใหญ่ เพื่อไม่ให้มีข้อบกพร่องหรือข้อเปรียบต่างระหว่างคู่สมรสชาย-หญิง และคู่สมรส LG BTQ + แต่กว่าที่ความหลากหลายทางเพศ จะเดินทางมาถึงยุคนี้ได้ ต้องผ่านการต่อสู้มาอย่างหนักท่ามกลางกระแสการต่อต้านในแง่มุมต่าง ๆ นับตั้งแต่เหตุการณ์จลาจลที่สโตนวอลล์ ใน ค.ศ. 1969 ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้มีการกำหนดให้เดือนมิถุนายนของทุกปี เป็น Pride Month เพื่อเป็นการยกย่องและรำลึกถึงรำลึกประวัติศาสตร์อันสำคัญ รวมถึงการแสดงความภาคภูมิใจผ่าน LG BTQ + Pride Parade การเดินขบวนพร้อมกับการโบกธงสีรุ้ง ซึ่ง ธงสีรุ้ง ที่เห็นนั้น ไม่ใช่การทำขึ้นมาเพื่อความสวยงามประกอบการเดินขบวนเพียงเท่านั้น แต่ยังมีนัยของความหมายที่สะท้อนชีวิตและตัวตนของ LG BTQ + สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่า LGBTQ+ คืออะไร หรือต้องการที่จะเข้าใจความหมายของ LG BTQ + สามารถมาทำความเข้าใจความแตกต่างทางเพศได้เลย

TEMU ทำความรู้จักอีคอมเมิร์ช น้องใหม่จากจีน ที่เพิ่งเปิดตลาดในไทย 

LGBTQ+ คืออะไร มาทำความรู้จักความหลากหลายทางเพศ

LG BTQ+ คืออะไร เป็นคำที่ใช้เรียกผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ เพราะถึงแม้ว่าโลกใบนี้จะมีเพียงแค่สองเพศหากจำแนกตามสรีระ แต่ในความเป็นจริงมนุษย์มีเพศมากกว่านั้น ไม่ใช่เพียงแค่เพศชาย หรือเพศหญิง ในอดีตกลุ่มคนเหล่านี้มักถูกมองว่าเป็นตัวประหลาดของสังคม และไม่ได้รับการยอมรับให้ใช้ชีวิตได้อย่างปกติ และในรายที่รุนแรงอาจถูกครอบครัวของตนเองกีดกัน และบังคับให้ปฏิบัติตัวตามแบบแผนที่เคยทำมาตั้งแต่โบราณ อาทิการต้องฝืนใจแต่งงานกับผู้หญิงหรือผู้ชายที่ทางครอบครัวเลือกให้ เพื่อเป็นการสืบทอดวงศ์ตระกูล และเป็นการรักษาไว้ซึ่งเกียรติของครอบครัว แต่ในปัจจุบันกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศเริ่มได้รับการยอมรับมากกว่าในอดีต มีการใช้คำเรียกที่มีความหลากหลายมากขึ้น โดยตัวอักษรภาษาอังกฤษแต่ละตัว เป็นตัวแทนของความหลากหลายทางเพศแบบหนึ่ง โดยเพศวิถีใน LGBTQ + (แอล-จี-บี-ที-คิว-พลัส) มีดังนี้:

  • L – Lesbian (เลสเบี้ยน): ผู้หญิงที่รักผู้หญิง
  • G – Gay (เกย์): ผู้ชายที่รักผู้ชาย
  • B – Bisexual (ไบเซ็กชวล): ชายหรือหญิงที่มีความรักกับเพศเดียวกัน หรือเพศตรงข้ามก็ได้
  • T – Transgender (ทรานส์เจนเดอร์): ผู้ที่เปลี่ยนแปลงเพศสภาพของตน ไปเป็นเพศตรงข้าม
  • Q – Queer (เควียร์): คนที่ไม่จำกัดตนเองเป็นเพศใด ๆ และไม่เกี่ยวกับเพศสภาพ

และตัวย่อนี้ ยังรวมถึงบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศอื่น ๆ (+) อีกด้วย ซึ่งความหลากหลายทางเพศ “ไม่ใช่โรค หรือความผิดปกติ”
ทำไมต้องเป็นสีรุ้ง
อย่างที่เราทราบกันเป็นอย่างดีว่า LGBTQ นั้นเป็นกลุ่มคนที่มีความหลากหลาย และสีรุ้งเองก็เป็นการรวมตัวกันของหลายสีมาเป็นหนึ่งเดียวเพื่อสร้างสีสัน โดยสีรุ้งที่มาเป็นสัญลักษณ์ของคนกลุ่มนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากการออกแบบธงสีรุ้งของ Gilbert Baker ศิลปินชาวอเมริกันและนักขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชนของเกย์ในปี 1978 ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากธงชาติของประเทศสหรัฐอเมริกาในวาระฉลองครบรอบ 200 ปี ในปี 1976 โดยในแรกเริ่มธงนี้มีด้วยกันทั้งหมด 8 สี ได้แก่

  • Hot pink ที่มีความหมายสื่อถึงเรื่องเพศ
  • สีแดง หมายถึงชีวิต
  • สีส้ม หมายถึงการเยียวยา
  • สีเหลือง หมายถึงแสงอาทิตย์ที่ส่องสว่าง
  • สีเขียวหมายถึงธรรมชาติ
  • สีฟ้า Turquoise หมายถึงเวทมนต์
  • สีน้ำเงินม่วง หมายถึงความสามัคคี
  • สีม่วง หมายถึงจิตวิญญาณอันแน่วแน่

ภายหลังได้มีการลดจำนวนของสีบนธงลงเหลือเพียง 6 สี โดยสีที่ถูกถอดออกคือ Hot pink และสีฟ้า Turquoise เนื่องจากเป็นสีที่มีความพิเศษ ทำให้ยากต่อการผลิต แต่ถึงแม้ว่าจะถูกลดทอนสีลงเหลือเพียงแค่ 6 แต่ความหมายของสีต่างๆ ก็ยังคงเป็นเช่นเคย

สรุป LGBTQ+ คืออะไร เป็นความหลากหลายทางเพศ ถือเป็นความชอบที่หลากหลายเฉพาะบุคคล เฉกเช่นเดียวกับการชื่นชอบสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันทั่วไป เช่น รูป รส กลิ่น สี  รสนิยมต่าง ๆ โดยไม่ได้เกิดจากความผิดปกติจากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายแต่อย่างใด และเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองความเท่าเทียมทางเพศ จึงมีการกำหนดให้เดือนมิถุนายนเป็น Pride Month หรือเดือนแห่งผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งเป็นการจัดขึ้นทั่วโลก และมีการนำธงสีรุ้งมาประดับประดาสถานที่ต่างๆ และมีการเดือนขบวนพาเหรดในหลากหลายประเทศทั่ว อย่างขบวนพาเหรดขนาดใหญ่ที่จัดขึ้น ณ เมืองนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เมืองเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมืองมาดริด ประเทศสเปน หรือในทวีปเอเชียเองก็มีเช่นเดียวกัน อย่างขบวนพาเหรดของเมืองไทเป ประเทศไต้หวัน หรือในบ้านเราก็มีจัดขึ้น ณ พัทยา


ขอบคุณเนื้อหาจาก : wikipedia

 

เป็นกำลังใจช่วยแชร์หน่อยค่ะ



ball