IP Address คือะไร

ปัจจุบันนี้ไม่สามารถปฎิเสธได้เลยว่า เทคโนโลยี และ ระบบอินเตอร์เน็ต นั้นก้าวหน้ามาก ๆ อีกทั้งยังเป็นเรื่องใกล้เกินกว่า ที่จะทำเป็นไม่รู้อะไรเกี่ยวกับมันได้แล้ว เพราะฉะนั้นในเมื่อมันเป็นเรื่องใกล้ตัวมาก ๆ แล้วทำไมเราไม่ลองศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับมันกันสักหน่อยล่ะ จะได้ใช้ได้อย่างถูกต้อง รวมถึงป้องกันการใช้งานแบบผิด ๆ ด้วย ดังนั้นบทความนี้เราจะพาเพื่อน ๆ มาทำความรู้จักเกี่ยวกับ ระบบการสื่อสารของอินเตอร์เน็ตกัน ที่มีโพรโตคอล TCP/IP เป็นมาตรฐาน ซึ่งมีอยู่ในทั้งคอมพิวเตอร์ และ โทรศัพท์มือถือ ทุก ๆ เครื่องที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต กล่าวได้ว่าอุปกรณ์ทุกขิ้น ที่เชื่อมอินเตอร์เน็ต จะต้องมีเลขอ้างอิงของอุปกรณ์ในการเชื่อมอินเตอร์เน็ต เลขอ้างอิงนั้นอาจมองเป็นชื่อ-สกุล ก็ได้ ซึ่งไม่อาจซ้ำกันได้ โดยเลขอ้างอิงที่ว่านี้ เราเรียกกันว่า IP Address นั่นเอง ว่าแล้วเราไปทำความรู้จักว่า IP Address คืออะไร แล้วสำคัญอย่างไร ในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต กันเถอะ

IP Address คืออะไร

ip address คือ แต่ละเครื่องจะไม่ซ้ำกัน ดังนั้น จึงได้มีการก่อตั้งองค์กรเพื่อ แจกจ่าย IP Address โดยเฉพาะ ชื่อองค์กรว่า InterNIC (International Network Information Center) อยู่ที่ รัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา การแจกจ่ายนั้นทาง InterNIC จะแจกจ่ายเฉพาะ Network Address ให้แต่ละเครือข่าย ส่วนลูกข่ายของเครือง ทางเครือข่ายนั้นก็จะเป็น ผู้แจกจ่ายอีกทอดหนึ่ง ถ้าผู้ใช้สมัครเข้าเป็นสมาชิกขอใช้บริการอินเตอร์เน็ตจากบริษัทผู้ให้บริการ (Internet Service Provider) เรียกย่อ ๆ ว่า หน่วยงาน ISP รายใดก็ตาม ก็ไม่ต้องไปขอ IP Address เนื่องจากหน่วยงาน ISP เหล่านั้นจะกำหนดหมายเลข IP ให้ใช้ หรือส่งค่า IP ชั่วคราวให้ใช้งาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการขอใช้รูปแบบของการบริการ ดังนั้นพอสรุปได้ว่า IP Address จะประกอบด้วยตัวเลข 2 ส่วน คือ

  • ส่วนแรก เป็นเลขหมายของเครือข่าย (Network Number)
  • ส่วนที่สอง เรียกว่าหมายเลขคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายนั้น (Host Number) เพราะในเครือข่ายใด ๆ อาจมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่มากมาย ในเครือข่ายที่อยู่คนละระบบ อาจมีเลข Host ซ้ำกันก็ได้ แต่เมื่อรวมกับเลขหมาย Network แล้วจะเป็น IP Address ที่ไม่ซ้ำกันเลย

IP Address นี้จะแบ่งได้เป็น 5 ระดับ (Class) ที่ใช้งานโดยทั่วไปจะมีเพียง 3 ระดับคือ Class A, Class B, Class C ซึ่งจะแบ่งตามขนาดของเครือข่ายนั่นเอง ถ้าเครือข่ายนั้นมีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่มากก็จะจัดอยู่ใน Class A ถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์ลดหลั่นกันลงมาก็จะจัดอยู่ใน Class B, Class C ตามลำดับ

Class A ตัวแรกจะเป็น 0 และหมายเลขของเครือข่าย (Network Number) ขนาด 7 บิต และมีหมายเลขของเครื่องคอมพิวเตอร์ (Host Number) ขนาด 24 บิต ทำให้ในหนึ่งเครือข่ายของ Class A สามารถมีเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายได้ถึง 224 = 16 ล้านเครื่อง เหมาะสำหรับองค์กรหรือบริษัทเครือข่ายยักษ์ใหญ่ แต่ใน Class A นี้จะมีหมายเลขเครือข่ายได้ 128 ตัวเท่านั้นทั่วโลก คือสามารถมีเครือข่ายยักษ์ใหญ่ Class A ได้เพียง 128 เครือข่ายเท่านั้น

Class B จะมีหมายเลขเครือข่าย แบบ14 บิต และหมายเลขเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ 16 บิต (ส่วนอีก 2 บิตที่เหลือบังคับว่าต้องขึ้นต้นด้วย 10 ) ดังนั้นสามารถมีเครือข่ายอยู่ใน Class B ได้มากกว่า Class A คือมีได้ถึง 214 = 16,384 เครือข่าย และสามารถมีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อในเครือข่าย Class B แต่ละเครือข่ายได้ถึง 216 หรือ 65,536 เครื่อง

Class C ซึ่งมีหมายเลขเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ 8 บิตและมีหมายเลขเครือข่ายแบบ 21 บิต ส่วน 3 บิตแรกบังคับว่าต้องเป็น 1102 ดังนั้นในแต่ละเครือข่ายของ Class C จะมีจำนวนเครื่องต่อเชื่อมได้เพียงไม่เกิน 254 เครื่องต่อเครือข่าย ( 28 = 256 แต่หมายเลขเครื่อง 0 และ 255 จะไม่ถูกใช้งาน จึงเหลือเพียง 254 ดังนั้นวิธีการสังเกตได้ง่าย ๆ ว่าเราเชื่อมต่อเครือข่าย Class ใดสามารถดูได้จาก IP Address ในส่วนหน้า (ส่วน Network Address) โดย

  • Class A จะมี Network ตั้งแต่ 0 ถึง 127 (จะได้เห็นว่า บิตแรกเป็น 0 เสมอ)
  • Class B จะมี Network ตั้งแต่ 128 ถึง 191 (เพราะขึ้นต้นด้วย 102 เท่านั้น)
  • Class C จะมี Network ตั้งแต่ 192 ถึง 223 (เพราะขึ้นต้นด้วย 1102 เท่านั้น)

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ในอินเตอร์เน็ตมีหมายเลข IP ดังนี้ 150.16.80.7 ตัวเลข 150.16 แสดงว่าเป็นเครือข่าย Class B ซึ่งหมายเลขเครือข่ายเต็มๆ จะใช้ สองส่วนแรกคือ 150.16 และมีหมายเลขของเครื่องคอมพิวเตอร์คือ 80.7 หรือถ้ามี IP Address เป็น 192.168.8.55 ทำให้เราทราบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นอยู่ในเครือข่าย Class C มีหมายเลขเครือข่ายอยู่ใน 3 ส่วนแรก ได้แก่ 192.168.8 และมีหมายเลขประจำเครื่องคือ 55 เป็นต้น


สามารถรับข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : คลิกที่นี่

อ้างอิง : คลิกที่นี่

เป็นกำลังใจช่วยแชร์หน่อยค่ะ



ball