30 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา มีผู้คนมามายเดินทางมายังอุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อชมปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี หรือ “ซูเปอร์บลูมูน” (Super Blue Moon ) ซึ่งสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้จัดกิจกรรมขึ้น ณ 4 จุดสังเกตหลักใน 4 ภูมิภาคพร้อมกันทั่วประเทศคือ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ , หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดฉะเชิงเทรา , หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสงขลา และ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา โดยยังมีหลายคนที่ตั้งคำถามว่า Blue Moon คือ ทำไมดวงจันทร์สีน้ำเงินไม่เป็นสีน้ำเงิน ในบทความนี้จะให้คำตอยและไขข้อสงสัยทุกคนเอง
เงินดิจิทัล 10000 ได้วันไหน ไขทุกข้อข้องใจ ทุกข้อสงสัย ที่นี่มีคำตอบ
Blue Moon คือ ทำไมดวงจันทร์สีน้ำเงินไม่เป็นสีน้ำเงิน
บลูมูน (Blue Moon) ไม่ได้หมายถึงดวงจันทร์สีน้ำเงิน ในทางดาราศาสตร์แล้ว Blue Moon เป็น ดวงจันทร์เต็มดวงครั้งที่ 2 ของเดือน ซึ่งปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ปกติแล้วดวงจันทร์มีคาบการโคจรรอบโลกประมาณ 29.5 วัน
ในขณะที่หนึ่งเดือนในปฏิทินที่เราใช้กันมี 30-31 วัน ส่งผลให้เมื่อวันเวลาผ่านไป บางเดือนมีวันที่ดวงจันทร์เต็มดวงถึง 2 ครั้งในช่วงต้นเดือนและปลายเดือน ซึ่งนานทีจะเกิดขึ้น และอาจทำให้ใครหลายคนนึกถึงสำนวนภาษาอังกฤษอย่าง Once in a blue moon ที่หมายถึงอะไรที่เกิดขึ้นได้ยาก หรือนาน ๆ จะเกิดขึ้นที
บลูมูนครั้งนี้ นับเป็นบลูมูนในรอบ 3 ปี ครั้งล่าสุดที่เกิดบลูมูนคือวันที่ 31 ตุลาคม 2563 ซึ่งในครั้งนั้นนอกจากจะตรงกับวันฮาโลวีนแล้ว ยังเป็นช่วงที่ดวงจันทร์อยู่ไกลโลกที่สุดในรอบปี (Micro Full Moon) พอดีอีกด้วย
ส่วนปีนี้ เราน่าจะทราบกันแล้วว่าตรงกับช่วง ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี (Super Full Moon) จึงเรียกปรากฏการณ์ครั้งนี้ว่า Super Blue Moon นอกจากจะเป็นดวงจันทร์ครั้งที่ 2 ของเดือนแล้ว ยังเป็นดวงจันทร์ที่ขนาดปรากฏจะใหญ่กว่าปกติ (และแน่นอนว่ามมองเห็นเป็นดวงจันทร์สีขาวนวลเหมือนทุกวัน) เวลาที่เหมาะสมสำหรับชมความสวยงามคือคืน 30 สิงหาคม ถึงรุ่งเช้า 31 สิงหาคม 2566
หากคืนดังกล่าวฟ้าใสไร้เมฆ สามารถชมความสวยงามด้วยตาเปล่าได้ทั่วประเทศ หรือถ้าอยากเห็นแบบเต็มตาผ่านกล้องโทรทรรศน์ ก็มาชมกับ NARIT ได้ที่หอดูดาวทั้ง 4 แห่งที่เชียงใหม่ นครราชสีมา สงขลา และฉะเชิงเทรา
สรุป Blue Moon เป็น ดวงจันทร์เต็มดวงครั้งที่ 2 ของเดือน ซึ่งปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ปกติแล้วดวงจันทร์มีคาบการโคจรรอบโลกประมาณ 29.5 วัน ในขณะที่หนึ่งเดือนในปฏิทินที่เราใช้กันมี 30-31 วัน ส่งผลให้เมื่อวันเวลาผ่านไป บางเดือนมีวันที่ดวงจันทร์เต็มดวงถึง 2 ครั้งในช่วงต้นเดือนและปลายเดือน ซึ่งนานทีจะเกิดขึ้น
ขอบคุณเนื้อหาจาก : wikipedia