โรคกลัวการอยู่คนเดียว (Autophobia) คือ ความกลัวถ้าเกิดเราต้องอยู่ในเหตุการณ์ที่ต้องอยู่คนเดียว หรือไม่มีใครอยู่กับเราต่อให้สถานที่นั้นจะเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยและเป็นที่ที่คุ้นเคย เช่น บ้านหรือห้องนอนของตัวเอง แต่เราก็ยังมีความกลัวที่จะต้องอยู่คนเดียว ซึ่งโรคนี้จะมีอาการคล้ายๆ คนขี้เหงาธรรมดา แต่ว่าโรคกลัวการอยู่คนเดียวนั้นจะมีอาการไม่กล้าออกไปทำอะไรตามลำพัง ไม่กล้าอยู่คนเดียว และการอยู่คนเดียวนี้จะส่งผลต่อหน้าที่การงาน ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างอีกด้วย
อาการของ โรคกลัวการอยู่คนเดียว
คนที่เป็นโรคการกลัวอยู่คนเดียวนั้นจะมีอาการผิดปกติ เมื่อเผชิญหน้ากับสถานที่ที่เขาไม่คุ้นเคย และไม่สามารถควบคุมได้จึงจะเกิดความกลัวขึ้นมา และคนที่เป็นโรคกลัวการอยู่คนเดียวจะมีอาการ ดังนี้
1.รู้สึกกระวนกระวายและกังวลมากเมื่อรู้ตัวว่าต้องอยู่คนเดียวเพียงลำพัง
2.เมื่อนึกถึงเหตุการณ์ที่ต้องอยู่คนเดียวจะมีอาการหายใจไม่สะดวก เหงื่อแตก ตัวสั่น มือสั่น อาเจียน หน้ามืด ทั้งๆ ที่สถานการณ์ที่เราอยู่คนเดียวนั้นเป็นสถานการณ์ที่ไม่น่ากลัวเลยสักนิด
3.หากอยู่ในที่สาธารณะคนเดียวมักจะมีอาการประหม่าไม่เป็นตัวของตัวเอง
4.คุณที่มีอาการของโรคกลัวการอยู่คนเดียวนั้นจะไม่สามารถไปไหนมาไหนได้คนเดียวจะต้องมีเพื่อนหรือคนรู้จักไปด้วยตลอด แม้สถานที่นั้นจะไปสถานที่ที่คุ้นเคยหรือเคยไปแล้วก็ตาม
ผลกระทบต่อความสัมพันธ์
- ติดแฟนหรือติดเพื่อนมากจนเกินไปชนิดที่ไม่ยอมห่างจากตัวเพื่อนหรือแฟน
เลย
- เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ตัวเองกลัวจะดื้อและตื๊อให้คนรอบข้างอยู่กับตัวเองให้นานที่สุดไม่ให้ไปไหน
- ถ้ามีสถานการณ์ที่จะต้องอยู่คนเดียวจะพยายามหาเพื่อนหรือคนรู้จักมาอยู่เป็นเพื่อนโดยเร็วที่สุด เช่น โทรหาเพื่อนกลางดึกให้มาอยู่เป็นเพื่อน แม้ตัวเองจะอยู่ในบ้านของตัวเองเพราะไม่อยากอยู่คนเดียว
- มักจะมีนิสัยเอาแต่ใจอยากให้คนอื่นมาอยู่เป็นเพื่อนด้วย ทั้งที่บุคคลเหล่านั้นอาจจะไม่สะดวก หรือไม่สามารถอยู่เป็นเพื่อนได้ในสถานการณ์นั้นๆ
- มักจะมีความรักในรูปแบบไร้ซึ่งอิสระเพราะอาจจะทำให้อีกฝ่ายทนไม่ไหวและไปต่อกันไม่ได้ในที่สุดนั่นเอง
วิธีการรักษา
1.รักษาด้วยพฤติกรรมบำบัด
โดยผู้เชี่ยวชาญจะให้ผู้ป่วยเผชิญหน้ากับความกลัวโดยตรง เช่น ทิ้งให้อยู่ในห้องตามลำพัง หากผู้ป่วยสามารถทนได้ก็จะเพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนผู้ป่วยสามารถหายเป็นปกติ
2.รักษาด้วยยา
ช่วงแรกๆ หมอจะให้ผู้ที่ป่วยที่เป็นโรคกลัวการอยู่คนเดียวทานยาคลายกังวล แต่ก็ไม่อาจสามารถรักษาหายขาดได้ ดังนั้นการรักษาด้วยยาจะต้องควบคู่กับการรักษาด้วยพฤติกรรมบำบัด
สามารถรับข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : คลิกที่นี่
อ้างอิง : คลิกที่นี่