โรควิตกกังวล คือ โรคที่มีผลทางจิตใจมากว่าความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งพบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรควิตกกังวลจะมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย และอาการจะไม่หายไปมีแต่อาการที่แย่ลงเรื่อย ๆ สาเหตุของการเกิดโรควิตกกังวลมักเกิดมาจากความผิดปกติทางจิตใจ หรือความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง และเกี่ยวกับพื้นฐานสุขภาพจิตของแต่ละบุคลด้วย ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง จะทำให้อาการรุนแรงขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคตามมาอีกหลายโรค
อาการโดยทั่วไปของ : โรควิตกกังวล
- ตกใจง่าย ใจลอย ตื่นตระหนกง่าย มีความรู้สึกกลัวและไม่สบายใจ
- หงุดหงิด ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถอยู่ในความสงบหรือหักห้ามใจไม่ให้คิดได้
- มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ เช่น นอนไม่หลับ นอนหลับยาก
- หายใจตื้น ใจสั่น ใจเต้นเร็วและแรง กระสับกระส่าย เจ็บหน้าอก ปากแห้ง
- กล้ามเนื้อตึงเกร็ง โดยเฉพาะที่ต้นคอ ไหล่ หลัง มีอาการเหน็บชาที่มือและเท้า
- มือเท้าเย็นหรือเหงื่อแตก มีอาการคลื่นไส้ ปวดศีรษะ
- มีอาการสั่น ท้องเสีย ปัสสาวะบ่อย อ่อนล้าเหนื่อยง่าย
ประเภทของ : โรควิตกกังวล โรคกังวลทั่วไป
มีความวิตกกังวลและความเครียดมากเกินไปแม้สาเหตุจะมีแค่เพียงเล็กน้อยหรืออาจจะไม่มีสาเหตุที่ไปกระตุ้นให้เกิดความกังวล ซึ่งผู้ที่เป็นโรควิตกกังวลทั่วไป จะมีอาการติดต่อกันนานกว่า 6 เดือน อาการเด่นที่สำคัญคือ คิดฟุ้งซ่าน กลัวเกินกว่าเหตุในหลายๆ เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้น
1.โรคแพนิค
ผู้ป่วยโรคนี้จะมีภาวะตื่นตระหนกกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยหาสาเหตุไม่ได้หรือไม่มีเหตุผล ซึ่งโรคแพนิคจะต่างจากวิตกกังวลทั่วไป เพราะผู้ป่วยจะเกิดอาการหวาดกลัวอย่างรุนแรงทั้งที่ตัวเองไม่ได้เจอกับกับเหตุการณ์อันตราย อาการแพนิคสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการกลัวและอาย เนื่องจากไม่สามารถควบคุมตัวเองหรือดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติเหมือนคนทั่วไป
2.โรคกลัวการเข้าสังคม
โรคกลัวการเข้าสังคมนั้น ผู้ป่วยจะมีภาวะกังวลรุนแรง หรือระมัดระวังตัวเกินกว่าเหตุ ในสถานการณ์ทางสังคมต่างๆ ที่ต้องพบเจอตามปกติในชีวิตประจำวัน โดยความกังวลที่เกิดขึ้นมักเป็นความกลัวการตัดสินจากผู้อื่น หรือกลัวว่าจะเกิดความอับอายและถูกล้อเลียน สำหรับอาการกลัวแบบจำเพาะ ยกตัวอย่างเช่น กลัวความสูง หรือกลัวสัตว์บางชนิด ซึ่งจะกลัวในระดับที่ต้องพยายามหลีกเลี่ยงให้ได้
วิธีควบคุมอาการโรควิตกกังวลให้ทุเลาลง
- พักผ่อนให้เป็นเวลา เลี้ยงการบริโภคหรืองดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา หรือเครื่องดื่มชูกำลัง เนื่องจากคาเฟอีนจะไปกระตุ้นให้อาการแย่ลง
- รับประทานยาตามแพทย์สั่งให้ครบถ้วน
- ฝึกทำใจให้ผ่อนคลายทำสมาธิ หากอาการไม่ดีขึ้นให้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน หรือโทรขอรับคำปรึกษาทางสายด่วนสุขภาพจิต 1323
- ออกกำลังกายด้วยวิธีแอโรบิก มีผลทำให้อาการสงบลงได้ แต่ยังไม่มีหลักฐานจากการศึกษาค้นคว้าที่มากพอเพื่อนำมาเป็นหนึ่งในวิธีการรักษา
- สำหรับญาติหรือคนรอบข้าง ควรทำความเข้าใจ ว่าอาการของผู้ป่วยไม่ได้เกิดจากการแกล้งทำหรือคิดมากไปเอง จึงควรเข้าอกเข้าใจและให้กำลังใจผู้ที่เป็นโรคดังกล่าว ซึ่งสามารถรักษาได้และกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีดังเดิมได้
ภาวะแทรกซ้อน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง โรคซึมเศร้า
โรควิตกกังวลนี้อาจจะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแย่ลงทำให้ใช้ชีวิตประจำวันและความสัมพันธ์กับคนรอบข้างแย่ลง หากไม่ได้รับการรักษาอาจจะนำไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้าได้ ซึ่งอาการของโรคซึมเศร้าก็จะคล้ายกับโรควิตกกังวล คือ หงุดหงิด นอนไม่หลับ กังวล ไม่มีสมาธิ กะสับกระส่าย หรืออาจจะนำพาไปเป็นโรคอื่น ๆ อีกด้วยหากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง จะทำให้อาการรุนแรงขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงเกิดโรคทางใจและทางกายตามมาอีกหลายโรค รวมทั้งยังเสี่ยงเกิดโรคทางกาย เช่น ปวดหัวเรื้อรัง ลำไส้แปรปรวน ทั้งนี้ยังมีรายงานวิจัยหลายชิ้นพบว่าโรควิตกกังวล เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ หัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคความดันโลหิตสูงอีกด้วย
สามารถรับข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : คลิกที่นี่
อ้างอิง : คลิกที่นี่