สำหรับใครที่ยังสงสัยว่า การุณยฆาต คืออะไร และอยากทำความเข้าใจในการใช้ทางเลือกสุดท้ายของชีวิต การุณยฆาตอีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจ และมีบางประเทศที่สามารถทำได้แล้วเช่นกัน โดยต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่แต่ละประเทศเหล่านี้ได้กำหนดอย่างชัดเจน ปัจจุบันทั่วโลกมีเพียง 12 ประเทศที่มีกฎหมายรองรับการทำการุณยฆาต
ทั้งการทำด้วยตัวผู้ป่วยเองและการให้แพทย์ช่วยเหลือ ได้แก่ เนเธอร์แลนด์, เบลเยียม, ลักเซมเบิร์ก, สวิตเซอร์แลนด์, ออสเตรเลีย, แคนาดา, โคลัมเบีย, สหรัฐอเมริกา, เยอรมนี, ญี่ปุ่น และอินเดีย ในบรรดา 12 ประเทศ โดยสิทธิในการเสียชีวิตอย่างสงบดี ของผู้ป่วยกลับมาได้รับความสนใจอีกครั้ง หลังชายไทยที่ป่วยเนื้องอกในสมองมานานกว่า 10 ปี ได้ ตัดสินใจเดินทางไปกระทำการุณยฆาต ด้วยตัวเองที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งการทำการุณยฆาตยังคงเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจ และถกเถียงในหลายแง่มุม
การุณยฆาต คืออะไร มาทำความรู้จักคำขอร้องในวาระสุดท้าย
การุณ ยฆาต คือ อะไร สำหรับการการุณยฆาต (Euthanasia) มีที่มาจากภาษากรีก จากคำว่า Eu หมายถึง Good และ Thanatos หมายถึง Death แปลโดยรวมว่า การทำให้เสียชีวิตอย่างสงบโดยมีมนุษยธรรม ซึ่ง การุณยฆาต (Euthanasia) หรือ Mercy Killing คือ การยุติชีวิตของผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามเจตนารมณ์ของผู้ป่วยหรือตามคำร้องขอของผู้แทนโดยชอบธรรม โดยมีโดยมีแพทย์เป็นผู้ดำเนินการยุติความเจ็บป่วย หรือเป็นผู้ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยดี โดยการทำ “การุณยฆาต” มี 2 ประเภท ประกอบไปด้วย
- การุณยฆาตเชิงรับ (Passive euthanasia) คือ การยุติการรักษา ซึ่งประกอบไปในหลายๆ ปัจจัยทั้งการตัดสินใจจากครอบครัว แพทย์ และผู้เกี่ยวข้อง เป็นการปล่อยให้ผู้ป่วยนั้นได้จากไปตามเวลากฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ในเวลาอันสมควร
- การุณยฆาตเชิงรุก (Active euthanasia) คือ การกระทำที่จงใจปลิดชีวิตของบุคคล เพื่อยุติความทรมาน เช่น การฉีดยากดประสาท เพื่อให้ผู้ที่ต้องการยุติชีวิตนั้นจากไปอย่างช้าๆ และทรมานน้อยที่สุด โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้กระทำ
การการุณยฆาตเชิงรุกนั้น เป็นแนวคิดของประเทศตะวันตกสําหรับ ผู้ป่วย หรือผู้ที่ประสงค์ที่จะตัดสินใจในการตายดี มีข้อพิจารณา 3 ประการด้วยกัน พร้อมสาระสำคัญจากเอกสารของรัฐสภาที่กล่าวไว้ดังต่อไปนี้
- ประการแรก : เมื่ออยู่ในภาวะเจ็บปวดทรมานอย่างแสนสาหัส
กรณีที่บุคคลอยู่ในภาวะที่เจ็บปวดทรมานอย่างแสนสาหัส โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในสภาพที่มีชีวิตอยู่ด้วยเครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อให้มีลมหายใจ หรือไม่รับรู้ความเจ็บป่วยด้วยการใช้ยาระงับความเจ็บปวดทรมาน
มีข้อโต้แย้งกับแนวคิดนี้ว่า คือ เราสามารถนำเทคโนโลยี ไปเอาชนะความเจ็บปวด และทรมานได้มากน้อย และนานเพียงใด โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขอะไรบ้าง เราจะแยกแยะระหว่างความเจ็บปวดทรมานที่บุคคลหนึ่งกําลังเผชิญอยู่ ต้องการหลุดพ้น โดยไม่อยากเห็นตนเองมีความทุกข์อยู่ต่อไป และความเห็นทางการแพทย์ที่วินิจฉัยว่าบุคคลนั้นๆ ยังมีโอกาสที่จะเยียวยาและมีชีวิตต่อไปได้อีกระยะหนึ่งได้อย่างไร
- ประการที่สอง : สิทธิส่วนบุคคลที่จะยุติชีวิตลง
กรณีนี้ คือ บุคคลควรมีสิทธิที่จะยุติชีวิตในสภาวะที่พร้อม และสมัครใจต่อการตาย หรือ ‘สิทธิที่จะตาย’ โดยต้องไม่ถูกหยิบยื่นให้กับผู้อื่น นอกจากผู้ที่เป็นเจ้าของชีวิตจะร้องขอเท่านั้น
เงื่อนไขนี้ถูกมองว่ามีช่องว่างหาก ‘ผู้ที่หยิบยื่นความตายให้บุคคลอื่น’ โดยใช้ดุลยพินิจส่วนตัวตัดสินว่าบุคคลนั้นๆ หมดหนทางที่จะเยียวยาได้จากสภาพทนทุกข์ทรมาน ซึ่งอาจเป็นเหตุผลที่ล่อแหลมต่อการใช้คำว่า ‘การุณยฆาต’ เป็นเครื่องมือ และมีความฟุ่มเฟือยจนเกินไป
- ประการที่สาม : บุคคลไม่ควรจะถูกบังคับให้ยืดชีวิตออกไปในสภาพที่ช่วยตนเองไม่ได้และไร้การรับรู้ทางสมอง
ผู้ป่วยไม่ควรจะถูกบังคับให้ยืดชีวิตออกไปในสภาพที่ช่วยตนเองไม่ได้ และไร้การรับรู้ทางสมอง การยืดชีวิตไว้ถือเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ป่วยหรือไม่ เราจะมีทางเลือกอย่างไรบ้าง สําหรับผู้ป่วยที่อยู่ในสภาวะ “ฟื้นไม่ได้ตายไม่ลง” จะถือว่าเป็นการยืดชีวิตโดยที่ผู้ป่วยไม่ปรารถนา จะทนกับภาวะทรมานนั้นอีกต่อไปหรือไม่
ปัจจุบันประเทศไทย มีกฎหมายรองรับใช้วิธีการ ‘การุณยฆาตเชิงรับ’ ได้ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ ที่ออกเมื่อ 2550 มาตรา 12 ที่ระบุว่า บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตจำนงไม่ประสงค์รับบริการสาธารณสุข ที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดเวลาการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติความทรมานจากการเจ็บป่วยได้
สรุป การุณยฆาต คืออะไร เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติชีวิตผู้ป่วย ถ้าใช้กฎหมายเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง ในระดับโลกจะแบ่งกระบวนการยุติชีวิตออกเป็น 2 รูปแบบ แล้วแต่การยอมรับของสังคม การเมือง สิทธิและเสรีภาพที่สังคมนั้นยึดถือเพียงใด 1.การุณยฆาตเชิงรับ (Passive Euthanasia) คือ การยุติการรักษาให้ผู้ป่วยเสียชีวิต ในกรณีที่ผู้ป่วยระยะสุดท้าย หรือการรักษาได้ดำเนินมาถึงขีดสุด และแพทย์หรือผู้ได้รับอนุญาต จึงเลือกวิธีนี้เพื่อปล่อยให้ผู้ป่วยเสียชีวิต และหลุดพ้นจากความเจ็บปวดของการรักษา เป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด และถูกกฎหมายในหลายประเทศ 2.การุณยฆาตเชิงรุก (Active Euthanasia) คือ การุณยฆาตโดยการให้สารหรือวัตถุเร่งให้ผู้ป่วยเสียชีวิต
ขอบคุณเนื้อหาจาก : wikipedia