เมื่อพูดถึง ถั่วลันเตา หลายคนคงรู้จักเป็นอย่างดีและเป็นอาหารที่หลายคนชื่นชอบอีกด้วย แต่น้อยคนที่จะรู้ว่าถั่วลันเตานั้นไม่ได้มีดีแค่ความอร่อยเท่านั้น แต่ถั่วลันเตาเองยังมีสรรพคุณอีกมากมายที่ถ้าคุณได้ทำความรู้จักแล้วต้องหลงรักถั่วลันเตามากขึ้นอย่างแน่นอน
ถั่วลันเตา ชื่อสามัญ Sugar pea, Sweet peas, Garden pea, Pea
ลันเตา หรือ ถั่วลันเตา เป็นผักที่คนทั่วโลกรู้จักเป็นอย่างดี เพราะมีการเพาะปลูกเพื่อใช้เป็นอาหารมานานหลายพันปีแล้ว โดยเชื่อว่าถั่วลันเตาเดิมทีแล้วเป็นถั่วป่า มีถิ่นกำเนิดแถวเอเชียตอนกลางหรือบางทีอาจเป็นอินเดีย และนักวิชาการให้การยอมรับว่าสายพันธุ์ที่เก่าแก่ที่สุดอยู่ในแถบชายแดนไทยพม่านี่เอง เพราะมีหลักฐานย้อนกลับไปถึงกว่าหนึ่งหมื่นปี ชื่อของถั่วลันเตามาจากภาษาจีนที่เรียกว่า “ห่อหลั่นเตา” ซึ่งหมายถึงฮอลแลนด์ ส่วนคำว่า “เตา” ในภาษาจีนก็แปลว่าถั่ว สรุปถั่วลันเตาก็คือถั่วที่มาจากฮอลแลนด์นั่นเอง
ลักษณะของถั่วลันเตา
– ต้นถั่วลันเตา จัดเป็นพืชผักที่มีเถาเลื้อย มีความสูงได้ถึง 2 เมตร เป็นพืชฤดูเดียว ลำต้นเล็กและเป็นเหลี่ยม ส่วนรากเป็นระบบรากแก้ว สามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดโดยเฉพาะดินร่วนปนเหนียว และควรเป็นดินที่ค่อนข้างมีความเป็นกรดเล็กน้อย เป็นพืชที่ชอบอากาศเย็นจึงปลูกได้ดีในช่วงฤดูหนาว และโดยถั่วลันเตามีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท ประเภทแรกเป็นพันธุ์ฝักเหนียว มีเมล็ดโต นิยมปลูกไว้เพื่อรับประทานเมล็ด ส่วนอีกประเภทจะปลูกไว้เพื่อรับประทานเฉพาะฝักสด โดยฝักจะมีขนาดใหญ่และมีปีก ส่วนอายุการเก็บเกี่ยวแต่ละสายพันธุ์ก็ไม่เหมือนกัน แต่โดยทั่วไปแล้วจะเก็บเกี่ยวหลังการเพาะปลูกประมาณ 2-3 เดือน โดยสายพันธุ์ที่ส่งเสริมให้ปลูกในประเทศไทย ได้แก่ พันธุ์แม่โจ้ 1, พันธุ์แม่โจ้ 2 และพันธุ์ฝางเบอร์7 และนิยมปลูกโดยการเพาะเมล็ด
– ใบถั่วลันเตา เป็นใบแบบสลับ ใบมีสีเขียวอ่อนถึงสีเขียวเข้ม ปลายใบเปลี่ยนเป็นมือเกาะเลื้อย บางสายพันธุ์อาจมีเฉพาะมือเกาะ หรือบางสายพันธุ์ก็อาจมีเฉพาะใบ
– ดอกถั่วลันเตา ดอกเป็นแบบดอกสมบูรณ์เพศ ผสมตัวเอง ดอกมีทั้งสีขาวและสีม่วงแล้วแต่พันธุ์
– ฝักถั่วลันเตา ฝักยาวรีมีสีเขียวสด ภายในฝักมีเมล็ดลักษณะกลมสีเขียวอยู่ประมาณ 2-4 เมล็ด หรือที่เรียกว่า เมล็ดถั่วลันเตา
คุณค่าทางโภชนาการของ ถั่วลันเตา ต่อ 100 กรัม
- พลังงาน 81 กิโลแคลอรี
- คาร์โบไฮเดรต 14.45 กรัม
- น้ำตาล 5.67 กรัม
- เส้นใย 5.1 กรัม
- ไขมัน 0.4 กรัม
- โปรตีน 5.42 กรัม
- วิตามินเอ 38 ไมโครกรัม 5%
- เบตาแคโรทีน 449 ไมโครกรัม 4%
- ลูทีนและซีแซนทีน 2,477 ไมโครกรัม
- วิตามินบี 1 0.266 มิลลิกรัม 23%
- วิตามินบี 2 0.132 มิลลิกรัม 11%
- วิตามินบี 3 2.09 มิลลิกรัม 14%
- วิตามินบี 6 0.169 มิลลิกรัม 13%
- วิตามินบี 9 65 ไมโครกรัม 16%
- วิตามินซี 40 มิลลิกรัม 48%
- วิตามินอี 0.13 มิลลิกรัม 1%
- วิตามินเค 24.8 ไมโครกรัม 24%
- ธาตุแคลเซียม 25 มิลลิกรัม 3%
- ธาตุเหล็ก 1.47 มิลลิกรัม 11%
- ธาตุแมกนีเซียม 33 มิลลิกรัม 9%
- ธาตุแมงกานีส 0.41 มิลลิกรัม 20%
- ธาตุฟอสฟอรัส 108 มิลลิกรัม 15%
- ธาตุโพแทสเซียม 244 มิลลิกรัม 5%
- ธาตุโซเดียม 5 มิลลิกรัม 10%
- ธาตุสังกะสี 1.24 มิลลิกรัม 13%
สรรพคุณของถั่วลันเตา
- ยอดของถั่วลันเตามีเบตาแคโรทีนสูง ช่วยในการบำรุงสายตาและผิวพรรณ
- ใช้บำบัดโรคเบาหวาน ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานควรรับประทานเป็นประจำด้วยการใช้ฝักอ่อนสดนำมาล้างน้ำให้สะอาดและนำไปต้มจนสุก
- ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
- เมล็ดช่วยบำรุงไขมัน
- ถั่วลันเตาอุดมไปด้วยวิตามินบี วิตามินบี 12 และสารเลซิทิน (Lecithin) ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของระบบประสาท
- ช่วยรักษาโรคหัวใจและความดันโลหิต ฝักถั่วลันเตาทั้งฝักนำไปคั้นเอาแต่น้ำให้ได้ประมาณครึ่งถึงหนึ่งแก้ว ใช้ดื่มวันละ 2 ครั้ง ช่วงเช้าและเย็น
- ถั่วลันเตาเป็นเครื่องดื่มที่ช่วยละลายลิ่มเลือด
- ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
- ช่วยขับของเหลวในร่างกาย
- ช่วยแก้อาการปัสสาวะขัด
- ช่วยแก้เป็นตะคริว อาการเหน็บชา
- ช่วยบำรุงเส้นเอ็น
- ช่วยเพิ่มน้ำนมของสตรี
สามารถรับข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : คลิกที่นี่
อ้างอิง : คลิกที่นี่