Fetal Distress คืออะไร

ภาวะเครียดของทารกในครรภ์ หรือ Fetal Distress คืออะไร ช่วงเวลาที่กำลังตั้งครรภ์ มักจะเป็นช่วงที่คุณแม่ต้องแบกรับภาระต่าง ๆ และสิ่งที่ต้องเจอในแต่ละวัน เช่น การกินอาหาร การดูแลร่างกาย การพักผ่อนให้เพียงพอ ร่วมถึงสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อเด็กในครรภ์ อาจะทำให้เกิดความเครียดมากจนเกินไปอาจส่งผลให้เกิดภาวะ Fetal Distress ที่เป็นอันตรายต่อทารกได้ จึงไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เลย เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตลูกของคุณได้เลย ดังนั้นคุณแม่ตั้งครรภ์ต้องห้ามละเลยในการสังเกตตัวเองและลูกในท้อง เพื่อทำให้เกิดภาวะนี้น้อยที่สุด แต่อย่างไรในบทความนี้เรามาดูภาวะนี้ว่าคืออะไร และแม่ตั้งครรภ์จะต้องระวังหรือป้องกันอะไรบ้าง

กินเหล้าแล้วปวดท้อง แก้ยังไงดี เปิด 10 วิธีแก้ปวดท้องหลังกินเหล้า

Fetal Distress คืออะไร และสาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง

  • Fetal Distress คือ

Fetal distress คือ การที่ทารกอยู่ในภาวะเครียดขณะอยู่ในครรภ์และแสดงสัญญาณต่าง ๆ ออกมา ซึ่งมีหลายสาเหตุที่ทำให้ทารกเกิดภาวะนี้ อาทิ ระยะเวลาก่อนถึงกำหนดคลอด ปฏิกิริยาต่อยา หรือปัญหาเกี่ยวกับสายสะดือหรือรก โดยจะเป็นภาวะที่แพทย์ไม่มั่นใจในความปลอดภัยของทารก หากไม่ให้คลอดโดยเร็วทารกอาจจะเกิดอันตราย และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งต่อคุณแม่และทารกได้ ซึ่งผลกระทบระยะยาวของภาวะนี้ โดยเฉพาะการขาดออกซิเจนเป็นเวลานาน อาจจะทำให้สมองของทารกได้รับการกระทบกระเทือน สมองพิการ และอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตขณะคลอดได้

  • อะไรคือสาเหตุของ Fetal Distress

สาเหตุหลักใหญ่ ๆ ของภาวะ Fetal Distress คือ การที่ทารกในครรภ์ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ตามปกติแล้วคุณแม่จะหายใจเอาออกซิเจนเข้าไปในปอด จากนั้นปอดก็จะส่งออกซิเจนไปยังเลือดและรก ส่งต่อไปยังเลือดของทารกในครรภ์ ซึ่งหากมีกระบวนการใดที่ไม่ถูกต้องและขัดขวางการลำเลียงออกซิเจนก็อาจนำไปสู่ภาวะ Fetal Distress ได้ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่น ๆ อีก เช่น

  1. คุณแม่มีการหดเกร็งกล้ามเนื้อบ่อยเกินไป
  2. โรคโลหิตจางของทารกในครรภ์
  3. ภาวะน้ำคร่ำต่ำ
  4. ความดันโลหิตสูงในคุณแม่ที่เกิดจากการตั้งครรภ์
  5. ภาวะครรภ์เป็นพิษ
  6. คุณแม่มีความดันโลหิตต่ำผิดปกติ
  7. การตั้งครรภ์นานเกินไป (41 สัปดาห์ขึ้นไป)
  8. ทารกในครรภ์เติบโตช้าผิดปกติ หรือมีขนาดตัวเล็กมาก
  9. รกลอกตัวก่อนกำหนด
  10. ภาวะรกเกาะต่ำ
  11. รกมีการบีบตัว
  12. คุณแม่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคไต หรือโรคหัวใจ
  • สัญญาณของภาวะ Fetal Distress มีอะไรบ้าง

สำหรับคุณแม่ที่กำลังเครียดว่าจะสังเกตได้อย่างไร หรือสงสัยว่าลูกของเราจะมีภาวะที่น่าเป็นห่วงนี้หรือไม่ ให้สังเกตสัญญาณดังนี้

  1. การเปลี่ยนแปลงของอัตราการเต้นหัวใจของทารกในครรภ์ (อัตราที่ต่ำกว่าหรือสูงกว่าปกติ)
  2. ทารกในครรภ์เคลื่อนไหวน้อยลงเป็นระยะเวลานาน
  3. คุณแม่มีภาวะน้ำคร่ำต่ำ

Fetal Distress คืออะไร

ภาวะ Fetal Distress รักษาได้ไหม และวิธีป้องกัน

หากเกิดภาวะ Fetal Distress แล้ว และจำเป็นต้องคลอดเด็กออกมาให้เร็วที่สุด คุณหมอและผู้เชี่ยวชาญจะทำการช่วยเหลือควบคู่กับการรักษา ดังนี้

เปลี่ยนท่าทางและตำแหน่งของคุณแม่ โดยการขยับของคุณแม่นั้นอาจเพิ่มการไหลเวียนของเลือดกลับสู่หัวใจและช่วยให้ออกซิเจนแก่ทารกในครรภ์เพิ่มขึ้นได้

  1. ให้คุณแม่สวมหน้ากากออกซิเจน
  2. ให้ของเหลวผ่านทางสาย IV
  3. ให้ยาเพื่อชะลอหรือหยุดการหดตัวของกล้ามเนื้อคุณแม่และสายสะดือ
  4. การเติมน้ำคร่ำด้วยวิธีการใส่ของเหลวในถุงน้ำคร่ำ เพื่อลดการบีบตัวของสายสะดือ
  • ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะ Fetal Distress ได้ไหม

ตามปกติแล้วไม่มีวิธีการป้องกันภาวะความเครียดของทารกในครรภ์ได้ เรียกว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจคาดคิดเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตาม การพบแพทย์ตามนัดหมายอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงดูแลสุขภาพครรภ์ให้แข็งแรง สามารถช่วยลดความเสี่ยงของภาวะที่นำไปสู่ภาวะ Fetal Distress ได้ นอกจากนี้คุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการของตัวเองและความผิดปกติในครรภ์ตลอดเวลา และปรึกษาแพทย์ทุกเรื่อง เพื่อที่จะได้ทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที

สรุป Fetal Distress เป็นภาวะที่ทารกในครรภ์ที่เกิดภาวะเครียด เป็นภาวะที่อันตรายากช่วยเหลือทารกให้คลอดได้ไม่ทันท่วงที, สามารถทำให้ทารกในครรภ์มีความพิการทางสมอง หรืออาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตขณะคลอดได้ เกิดจากทารกได้รับออกซิเจนจากเลือดของมารดาไม่เพียงพอ ซึ่งออกซิเจนที่จะส่งไปยังทารกในครรภ์จะถูกส่งผ่านไปยังรก,และไปยังเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของทารก 


สามารถรับข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : คลิกที่นี่

อ้างอิง : คลิกที่นี่

เป็นกำลังใจช่วยแชร์หน่อยค่ะ



ball