“โรคแพนิค” (Panic Disorder) เป็นโรควิตกกังวลประเภทหนึ่งที่เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติ (Automatic Nervous System) ทำงานผิดปกติ โดยส่งผลต่อระบบที่ควบคุมการทำงานของร่างกายหลายส่วน เช่น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกมาก ท้องไส้ปั่นป่วน วิงเวียน เป็นต้น อาจจะเกิดจากกรรมพันธุ์ คนที่มีญาติหรือประวัติครอบครัวเป็นโรคแพนิค มีแนวโน้มเป็นได้มากกว่าคนทั่วไป หรือมีพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เป็นตัวกระตุ้น เช่น ทำงานกับคอมพิวเตอร์และมือถือนาน ๆ เผชิญความกดดัน อยู่ในสภาวะที่เร่งรีบ เครียดวิตกกังวล ไม่ออกกำลังกาย พักผ่อนน้อย และอาจจะเครียดสะสม เกิดจากการใช้ชีวิตอย่างจริงจัง เคร่งเครียด อยู่ในสภาวะกดดันเป็นประจำ เป็นสาเหตุหลัก ๆ ที่พบในผู้ป่วย โดยการกินอาหารบางชนิดก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้อาการแพนิกกำเริบได้ ซึ่งในวันนี้เราได้รวมควรรู้ที่ผู้ป่วย โรคแพนิกห้ามกินอะไร มาไว้ให้ทำความเข้าใจกัน
Femicide คืออะไร เมื่อผิดเพราะเป็นผู้หญิง ความรุนแรงจากเหตุแห่งเพศ
โรคแพนิกห้ามกินอะไร
อาหารที่เรากินในแต่ละวันจะมีสารอาหารต่าง ๆ ที่ร่างกายดูดซึมเข้าไป ซึ่งบางอย่างก็ทำให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย แต่อาหารบางชนิดก็อาจส่งผลต่อสารเคมีในสมอง และกระตุ้นอาการตื่นตระหนกได้ ดังนั้นผู้ป่วยโรคแพนิกห้ามกิน มีดังนี้
- แอลกอฮอล์
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจกระตุ้นอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว หรือใจหวิว ๆ ได้ ดังนั้น ผู้ป่วยโรคแพนิกที่ความผิดปกติของสารเคมีในสมองอาจสั่งให้ร่างกายเกิดอาการเหล่านี้ได้ง่ายจึงควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
- เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
ไม่ว่าจะเป็นชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มช็อกโกแลต หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอื่น ๆ ก็ควรหลีกเลี่ยงเช่นกัน เพราะคาเฟอีนมีส่วนกระตุ้นอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งหากดื่มแล้วเกิดอาการใจสั่นขึ้นมาอาจพาลคิดว่าเป็นอาการแพนิก และทำให้ยิ่งวิตกกังวลกันไปใหญ่
- อาหารที่มีน้ำตาลสูง
ทั้งในกลุ่มเครื่องดื่มสี ๆ เบเกอรี่ ขนมหวานต่าง ๆ เพราะอาหารเหล่านี้เมื่อกินเข้าไปแล้วจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น ก่อนจะลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งภาวะนี้อาจเหนี่ยวนำให้อารมณ์แปรปรวนได้ง่าย และอาจเสี่ยงอาการแพนิกกำเริบ
- อาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาล (GI) สูง
เช่น ข้าวขาว ขนมปังขาว เค้ก มันฝรั่ง เวเฟอร์ ขนมอบกรอบ แผ่นแป้งต่าง ๆ ผลไม้ที่มีรสหวานนำอย่างแตงโม อินทผลัม เป็นต้น รวมไปถึงน้ำผึ้ง ที่อาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเพิ่มความเสี่ยงอารมณ์แปรปรวนได้
- ไข่
อาหารสามัญอย่างไข่ไก่ก็มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงอาการแพนิกได้ เพราะในไข่ไก่อุดมไปด้วยสารอาหารที่ดีต่อสภาพอารมณ์ ทั้งวิตามินดีและทริปโตเฟนที่ต่างก็ช่วยกระตุ้นการสร้างสารเซโรโทนิน หรือสารแห่งความสุขได้ อีกทั้งยังอุดมไปด้วยโปรตีน แถมอร่อยอีกด้วย
- ปลาแซลมอน
เนื้อปลาแซลมอนที่กินได้ทั้งแบบดิบ ย่าง ทอด อบ ก็อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย รวมไปถึงด้านอารมณ์ โดยในแซลมอนจะมีทั้งกรดไขมันโอเมก้า 3 กรดไขมัน DHA กรดไขมัน EPA และวิตามินดี ที่มีส่วนช่วยกระตุ้นสารแห่งความสุข หรือเซโรโทนิน มีส่วนช่วยลดอารมณ์ด้านลบ ทำให้สภาพจิตใจมั่นคงขึ้น
- ชาคาโมมายล์
ชาช่วยให้อารมณ์ดีอย่างชาคาโมมายล์ เป็นชาที่ช่วยผ่อนคลายความเครียด บรรเทาความกังวล อีกทั้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบต่าง ๆ ในร่างกายได้อีกด้วย
- เมล็ดฟักทอง
ธัญพืชอย่างเมล็ดฟักทองอุดมไปด้วยโพแทสเซียมที่ช่วยปรับสมดุลความดันโลหิต อีกทั้งการศึกษาเมื่อปี 2008 ยังพบด้วยว่า การมีโพแทสเซียมและแมกนีเซียมในระดับต่ำ อาจกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารคอร์ติซอล หรือสารแห่งความเครียดได้ ดังนั้นถ้าอยากอยู่ให้ไกลความเครียดที่อาจกระตุ้นอาการแพนิก ลองเติมโพแทสเซียมให้ร่างกายด้วยการกินเมล็ดฟักทองได้เลย
- อาหารที่มีแมกนีเซียมสูง
แมกนีเซียมเป็นสารอาหารที่มีส่วนช่วยลดอาการซึมเศร้า ดีต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วยจิตเวช ช่วยลดอาการ PMS ทั้งยังช่วยรักษาสมดุลความดันโลหิตและจังหวะการเต้นของหัวใจ โดยอาหารที่มีแมกนีเซียมสูง ได้แก่ กล้วยหอม ดาร์กช็อกโกแลต ปลาทูน่า ถั่วเปลือกแข็ง เมล็ดฟักทอง เต้าหู้ขาว ผักใบเขียว เป็นต้น
- อาหารที่มีโพรไบโอติกสูง
เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต คอมบูชา ขิงดอง กิมจิ มิโสะ เทมเป้ เป็นต้น เพราะโพรไบโอติกมีส่วนช่วยปรับสมดุลแบคทีเรียในลำไส้ ซึ่งส่งผลดีต่อด้านอารมณ์ด้วยนะคะ โดยมีการศึกษาพบว่า การมีแบคมีเรียชนิดดีในลำไส้ โดยเฉพาะแบคทีเรียดีชนิดแล็กโทบาซิลลัส และไบฟิโดแบคทีเรียม อย่างพอเพียง จะช่วยปรับอารมณ์ให้ดีขึ้นได้ จึงช่วยลดความเสี่ยงของอาการแพนิกที่มีความเครียด ความจิตตก เป็นปัจจัยกระตุ้นอาการ
- อาหารที่มี Zinc สูง
สิ่งที่ผู้ป่วยแพนิกต้องการคือประโยชน์ของ Zinc หรือธาตุสังกะสี ในด้านการรักษาสมดุลของระบบประสาทสมอง กระตุ้นความรู้สึกสดชื่น ตื่นตัว และยังมีการศึกษาที่พบว่า การมี Zinc ในร่างกายอย่างเพียงพอจะช่วยบรรเทาอารมณ์ผิดปกติต่าง ๆ เช่น ความรู้สึกวิตกกังวลหรือความรู้สึกเศร้าได้ในบางคน และใครที่อยากเติม Zinc ให้ร่างกาย ก็สามารถหาได้จากอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ต่าง ๆ เครื่องในสัตว์ โดยเฉพาะตับ เนื้อปลา อาหารทะเล ข้าวโพด โฮลเกรน ถั่วชนิดต่าง ๆ หรือนม เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถรับประทาน Zinc ในรูปแบบอาหารเสริมก็ได้นะคะ
สรุป อาหารบางชนิดก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้อาการแพนิกกำเริบได้ ควรเลือกและเลี่ยงอย่างเหมาะสม โดยคนที่เป็น โรคแพนิกห้ามกินอะไร เราได้รวบรวม้อมูลมาให้อ่านและทำความเข้าใจกันแล้ว พร้อมบอกสาเหตุการกินอาหารที่กินแล้วจะส่งผลอย่างไรต่อผู้ป่วย
ขอบคุณเนื้อหาจาก : wikipedia