โรคนิ้วล็อค

หลายคนคงจะเคยได้ยินโรคนิ้วล็อคกันมาก่อนมาอาจจะไม่รู้ว่าโรคนิ้วล็อคนั้นมีอาการหรือมีลักษณะตอนเจ็บปวดอย่างไร วันนี้จึงจะมีข้อมูลเกี่ยวกับ โรคนิ้วล็อค มาบอกทุกคน โดยอาการนิ้วล็อคจะมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วจะเหยียดนิ้วหรืงอนิ้วไม่ค่อยสะดวก รู้สึกว่าการงอนิ้วหรือเหยียดนิ้วนั้น จะมีความรู้สึกติดขัดและคล้ายเหมือนมีสปริง และที่ร้ายที่สุดอาจจะมีอาการเจ็บมากจนไม่สามารถงอนิ้วได้ หากมีลักษณะอาการอย่างนี้เรียกได้ว่าคุณกำลังเป็นโรคนิ้วล็อคนั่นเอง ตั้งนั้นมารู้จักกับสาเหตุของโรคนิ้วล็อคและความรุนแรงของโรคนิ้วล็อคกันเถอะ

โรคนิ้วล็อค ปัญหาสุขภาพที่อยู่ใกล้ตัว

สาเหตุ

สาเหตุของโรคนิ้วล็อคนั้นมักจะเกิดมาจากการที่เราใช้มือในการทำกิจกรรมต่างๆ มากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นการเล่นกีฬา ทำงานบ้าน ทำสวน หรือแม้กระทั่งพนักงานออฟฟิศที่ใช้คอมพิวเตอร์อยู่นานๆ รวมถึงการเล่นโทรศัพท์มือถือที่ต้องใช้การงอนิ้ว เหยียดนิ้วเป็นระยะเวลาต่อเนื่องนานนานนั่นเอง

ความรุนแรงของโรคนิ้วล็อก

โรคนิ้วล็อคนั้นเกิดจากปลอกหุ้มเอ็นที่ใช้ในการขยับนิ้วมีการอักเสบ โดยอาการของนิ้วล็อคมี 4 ระยะ ดังนี้

-ระยะที่ 1

เริ่มแรกผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดบริเวณโคนนิ้วนั้นนั้น

-ระยะที่ 2

รู้สึกว่าการงนิ้วเหยียดนิ้วสะดุด โดยจะมีลักษณะคล้ายสปริงที่จะดีดอย่างรวดเร็ว ร่วมกับอาการปวดอย่างมากขณะขยับนิ้ว

-ระยะที่ 3

ไม่สามารถเหยียดนิ้วเองได้ ต้องใช้นิ้วอื่นในการช่วยเหยียดนิ้วออกมา

-ระยะที่ 4

มีอาการเจ็บปวดรุนแรงบริเวณนิ้วจนไม่สามารถทำการงอนิ้วนั้นได้อีกต่อไป

วิธีการป้องกัน

-แช่มือในน้ำอุ่น

-งอนิ้วเหยียดนิ้วให้สุดเบาๆ

-บริหารนิ้วมือแบบนี้ง่ายๆ ทุกวัน

-เมื่อนิ้วนั้นมีอาการเหนื่อยล้าให้พักการใช้คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ

-หลีกเลี่ยงการถือของหนัก การกำมือแน่นแน่น เช่น การบิดผ้าให้แห้ง การตีกอล์ฟ

การรักษา

เมื่อมีอาการนิ้วล็อคควรจะมาพบแพทย์ทันที เพื่อที่จะได้รับการรักษาให้เหมาะสม และโรคนี้จะได้ไม่ดำเนินจนถึงขั้นรุนแรง และแพทย์จะแบ่งการรักษาตามความรุนแรงของอาการ ดังนี้

-การทานยาแก้อักเสบ

-การกายภาพ ประคบร้อน หรือการดามนิ้ว

-ฉีดสเตียรอยด์ที่ปลอกหุ้มเอ็น

หากอาการยังไม่ดีขึ้นก็จะมีวิธีการผ่าตัดดังนี้

-เจาะรูที่นิ้วและใช้เข็มเปิดปลอกหุ้มเอ็น ซึ่งวิธีนี้แผลจะเท่ากับขนาดของรูเข็ม และผู้ป่วยจะฟื้นตัวเร็ว

-การผ่าตัดเปิดปลอกหุ้มเอ็นวิธีนี้จะเปิดแผลประมาณ 3-6 มม. เพื่อเข้าไปตัดพังผืดที่ปลอกหุ้มเส้นเอ็น ผู้ป่วยจะสามารถกลับไปทำงานได้ปกติทันทีหลังผ่าตัด


สามารถรับข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : คลิกที่นี่

อ้างอิง : คลิกที่นี่

เป็นกำลังใจช่วยแชร์หน่อยค่ะ



ball