โรคความดันโลหิตสูง

 

เมื่อพูดถึง โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งโรคนี้ถือเป็น 1 ใน 10 โรคยอดฮิตของคนทำงานเลยก็ว่าได้วันนี้จะพาท่านผู้อ่านทุกท่านไปทำความรู้จักกับเจ้าโรคความดันโลหิตสูงกัน

ความดันโลหิตสูง คือ สภาวะผิดปกติที่คนเรามีความดันโลหิตสูงกว่าคนปกติทั่วไป และสภาวะความดันโลหิตสูงนี้คือสภาวะที่ต้องควบคุม เนื่องจากความดันโลหิตสูงทำให้หลอดเลือกแดงเสียหายและเสื่อมสภาพได้ ซึ่งจะนำไปสู่สภาวะการแข็งตัวของหลอดเลือด การอุดตันของหลอดเลือด หรือหลอดเลือดแตกได้ นอกจากนี้ความดันโลหิตสูงยังเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น โรคหัวใจวาย โรคอัมพาต  โรคสมองเสื่อมหรือโรคไตวายเรื้อรัง

การวัดความดันโลหิตสูง ค่าความดันที่วัดได้จะออกมา 2 ค่า คือ ค่าความดันตัวบนและค่าความดันตัวล่าง

1.ค่าความดันตัวบน คือ ระดับความดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัว มากกว่าหรือเท่ากับ 140 (mm/Hg) ขึ้นไป

2.ค่าความดันตัวล่าง คือ ระดับความดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัว มากกว่าหรือเท่ากับ 90 (mm/Hg) ขึ้นไป

ซึ่งตัวเลขทั้งสองค่าจะรายงานเป็นมิลลิเมตรปรอท (mm/Hg) โดยระดับความดันทั้ง 2 ค่า ยิ่งสูงมากก็ยิ่งจะมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้มากขึ้นตามลำดับ

*ถ้าคุณมีภาวะความดันโลหิตสูงและปล่อยให้ตนเองมีค่าความดันสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอทเป็นระยะเวลานานโดยไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมหรือต่อเนื่อง อีกทั้งควบคุมไม่ได้จนกระทั่งเกินกว่า 160/100 มิลลิเมตรปรอท ในที่สุดอาจเกิดหลอดเลือดตีบหรืออุดตัน โรคเลือดสมอง ไตวาย และหัวใจวาย

ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิด โรคความดันโลหิตสูง 

1. กรรมพันธุ์ จากการสำรวจความถี่ในการเกิดโรค พบว่า ผู้ที่มีพ่อแม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง มีโอกาสและความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้มากกว่า
2. เพศและอายุ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย มีข้อมูลบ่งบอกว่า พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ในช่วงก่อนอายุ 50 ปี แต่เมื่ออายุเลย 50 ปี ผู้หญิงจะมีโอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากผู้หญิงมีฮอร์โมนเอสโทรเจนลดลง ซึ่งมีผลต่อความยืดหยุ่นของเส้นเลือด ส่วนในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป พบความดันโลหิตสูงเท่ากันทั้ง 2 เพศ
3. อ้วนหรือมีน้ำหนักเกิน
4. ไขมันในเลือดสูง
5. ดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก
6. กินเค็มเป็นประจำ
7. ขาดการออกกำลังกาย
8. มีภาวะดื้ออินซูลินหรือเป็นเบาหวาน

วิธีสังเกตว่าตัวเองเป็น ความดันโลหิตสูง หรือไม่

– ปวดศีรษะตุบๆบริเวณท้ายทอย
– เวียนศีรษะตอนตื่นนอนใหม่ๆ
– ตาพร่ามัว
– มีเลือดกำเดาไหล
– เหนื่อยง่าย
– เจ็บหน้าอก

แนวทางการรักษา โรคความดันโลหิตสูง

จากการการศึกษาที่ผ่านมาการให้ยาลดความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน สามารถลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากความดันโลหิตสูงได้ นอกจากการรับประทานยาแล้ว ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทุกรายควรจะได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือการรักษาความดันโลหิตสูงโดยไม่ต้องใช้ยาร่วมด้วย ดังนี้

  1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย วันละ 15-30 นาที 3-6 วันต่อสัปดาห์ และการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  2. ลดปริมาณแอลกอฮอล์ให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม
  3. งดบุหรี่
  4. ลดความเครียด
  5. รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ โดยการลดอาหารเค็มจัด ลดอาหารมัน เพิ่มผักผลไม้ เน้นอาหารพวกธัญพืช ปลา นมไขมันต่ำ ถั่ว รับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวต่ำ หลีกเลี่ยงเนื้อแดง น้ำตาล เครื่องดื่มที่มีรสหวานจะทำให้ระดับความดันโลหิตลดลงได้
  6. ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่ใช้อยู่เพราะมียาบางตัวทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้ ปรึกษาแพทย์ถ้าต้องใช้ยาคุมกำเนิด

สามารถรับข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : คลิกที่นี่

อ้างอิง : คลิกที่นี่

เป็นกำลังใจช่วยแชร์หน่อยค่ะ



ball