สายพันธุ์โควิด

ณ ปัจจุบันนี้ ( กรกฎาคม 2564 ) สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย มีแต่แย่ลงเรื่อย ๆ นอกจากการนำเข้า วัคซีนโควิด จะล่าช้า ไม่เพียงพอแล้ว การแพร่กระจายของไวรัส ก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก จนสร้างสถิติมีผู้ติดเชื้อเป็น นิวไฮ แทบทุกวัน ประกอบกับ เชื้อไวรัสที่กลายพันธ์ และ การเข้ามาของ สายพันธุ์โควิด ชนิดใหม่ ๆ จากต่างประเทศ ยิ่งทำให้สถานการณ์ ณ ปัจจุบัน ยากจะควบคุมกันไปใหญ่ ว่าแต่เพื่อน ๆ รู้กันไหมว่าตอนนี้ สายพันธุ์โควิด ที่เข้ามาในประเทศไทย มีสายพันธุ์อะไรบ้างแล้ว แล้วเรามี วัคซีนโควิด อะไรบ้าง ที่ใช้รับมือกับพวกมัน บทความนี้จะพาเพื่อน ๆ ไปหาคำตอบกัน

โควิดสายพันธุ์เดลต้า คืออะไร 

สายพันธุ์โควิด ในประเทศไทย มีอะไรบ้าง

สายพันธุ์โควิด

สายพันธุ์อังกฤษ – B.1.1.7

  • ที่มา : พบครั้งแรกที่เมืองเคนต์ ของอังกฤษ ในเดือนธันวาคม 2563 และเพิ่งเริ่มเข้ามาระบาดในประเทศไทยเมื่อปลายเดือนมีนาคม 2564 โดยพบทั้งในสถานควบคุมโรคของรัฐและเอกชน และพบการระบาดในส่วนท้องถิ่นหลายจังหวัด
  • ความอันตราย : มีการติดต่อได้ง่ายกว่า มีความรุนแรงมากกว่า มีอัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตสูงกว่าสายพันธุ์เดิม

สายพันธุ์บราซิล – P.1

  • ที่มา : เริ่มแพร่ระบาดในพื้นที่โซนแอมะซอนตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม 2563 แต่ถูกพบครั้งแรกที่ญี่ปุ่น โดยพบในนักท่องเที่ยว 4 คน ที่เพิ่งเดินทางกลับจากบราซิล โดยไวรัส 1 ได้รับการยกระดับเป็นไวรัสกลายพันธุ์ที่น่ากังวลใจ (Variant of concern : VOC)
  • ความอันตราย : สามารถระบาดได้รวดเร็วว่าไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิม ผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อไวรัสตัวแรก สามารถติดเชื้อซ้ำได้อีก รวมถึงผู้ติดเชื้อ 1 มีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่าไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิม

สายพันธุ์แอฟริกาใต้ – 501Y.V2 หรือ B.1.351

  • ที่มา : พบครั้งแรกในอ่าวเนลสันแมนเดลา เมืองอีสเทิร์นเคป ของแอฟริกาใต้ ในเดือนตุลาคม 2563 ก่อนจะพบเชื้อตัวนี้ในคลัสเตอร์ที่ตากใบ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2564 และได้รับการยกระดับเป็นไวรัสกลายพันธุ์ที่น่ากังวลใจ (VOC)
  • ความอันตราย : ไวรัสตัวนี้มีการกลายพันธุ์ในตำแหน่งที่คาดว่ามีผลกระทบต่อการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ต่อไวรัส ลดประสิทธิภาพการทำงานของวัคซีน แต่ไม่ได้แปลว่าวัคซีนจะใช้ไม่ได้ เพียงแต่ต้องเพิ่มอัตราส่วนประชากรที่ได้รับวัคซีนให้สูงขึ้น เพื่อให้เกิดการป้องกันระดับประชากร

สายพันธุ์อินเดีย – B.1.617.1 และ B.1.617.2

  • ที่มา : พบครั้งแรกในประเทศอินเดียก่อนจะมีการกระจายไปในหลายสิบประเทศ และได้รับการยกระดับเป็นไวรัสกลายพันธุ์ที่น่ากังวลใจ (VOC) ในต้นเดือนพฤษภาคม 2564
  • ความอันตราย : มีการแพร่ระบาดได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์อังกฤษ 1.1.7 ถึง 60%

สายพันธุ์อื่น ๆ

  • 6 เป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมที่มีการระบาดในปี 2563 พบในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล
  • 1.36.16 เป็นสายพันธุ์หลักที่เริ่มระบาดในไทยเมื่อต้นปี 2564 คาดว่าขณะนี้เป็นสายพันธุ์ประจำถิ่นไทย ที่เข้ามาแทนสายพันธุ์ A.6 พบในพื้นที่สมุทรสาคร ปทุมธานี และพื้นที่จังหวัดอื่น ๆ ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ
  • 1.524 ก่อนหน้านี้มีการระบาดในประเทศเพื่อนบ้าน ก่อนพบในพื้นที่ภาคใต้ และ ตม.บางเขน

ทำความรู้จักเจ้าไวรัสตัวร้าย โควิดแลมบ์ดา

แล้วเรามี วัคซีนโควิด อะไรบ้างแล้ว ที่ผ่านการรับรองจาก WHO

สายพันธุ์โควิด

  • วัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) จาก สหรัฐอเมริกา
  • วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) จาก สหราชอาณาจักร
  • วัคซีนโมเดอร์นา (Moderna) จาก สหรัฐอเมริกา
  • วัคซีนโควิชิลด์ (Covishield) ที่ผลิตโดยสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย
  • วัคซีนจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (Johnson & Johnson) จาก สหรัฐอเมริกา
  • วัคซีนซิโนฟาร์ม (Sinopharm) จาก จีน

ช่วงเวลานี้ของคนไทย และ อีกหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก คงกำลังเผขิญกับความยากลำบาก ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสุขภาพ สังคม หรือ เศรษฐกิจ ก็หวังว่าช่วงเวลาแห่งความยากลำบากนี้จะผ่านพ้นไปโดยเร็ว เชื่อว่าหลายคนคงอยากกลับมาใช้ชีวิตอย่างมีความสุข อิสระเสรี กันแล้ว

วิธีลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด-19 


สามารถรับข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : คลิกที่นี่

อ้างอิง : คลิกที่นี่

 

เป็นกำลังใจช่วยแชร์หน่อยค่ะ



ball