ด้วยภาวะวิกฤตจากโรคโควิดทำให้หลายคนมีปัญหาเรื่องการเงิน บางคนอาจจะโดนเชิญออกจากงาน บางคนอาจจะต้องถูกลดเงินเดือน ทำให้การใช้จ่ายนั้นไม่ค่อยคล่องตัว การเงินติดขัดแถมภาระหนี้สินที่มีอยู่นั้นก็เริ่มจะผ่อนไม่ไหว วันนี้จะพาทุกคนมารู้จักกับ วิธีปรับโครงสร้างหนี้ วิธีที่จะปลดล็อคหนี้สินอันแสนหนักอึ้งนี้ รวมไปถึงการลดดอกเบี้ยแสนแพงลงบ้าง นั่นก็คือการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส ให้เรายังสามารถรับภาระหนี้ต่อไป และยังคงเป็นสถานะลูกหนี้ที่ดีได้อีกด้วย จะมีวิธีอย่างไรบ้างมาดูกันเลย
ขั้นตอนแรกนั้นควรสำรวจก่อนว่าจะเริ่มเจรจากับเจ้าหนี้เมื่อไหร่ดี คำตอบก็คือเราจะเริ่มเจรจากับเจ้าหนี้ก็ต่อเมื่อเราเริ่มผ่อนไม่ไหว ให้รีบติดต่อเพื่อปรับเงื่อนไขการผ่อนให้เหมาะกับรายได้ (ปรับโครงสร้างหนี้) และถึงเป็นหนี้เสียไปแล้วก็ยังสามารถเจรจาเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ได้เช่นกัน
เงื่อนไขพักชําระหนี้ ก่อนร่วมมาตรการพักชำระหนี้ กับ พักหนี้
วิธีปรับโครงสร้างหนี้ ทางเลือกสำหรับปรับโครงสร้างหนี้มีดังนี้
-ยืดระยะเวลาชำระหนี้
การยืดระยะเวลาชำระหนี้คือเป็นการทำให้ภาระการผ่อนต่อเดือนนั้นลดลง เช่น ถ้าระยะเวลาผ่อนเหลือ 8 ปี ก็ขอยืดเป็น 9 ปี เท่านี้ก็จะทำให้หนี้รายเดือนที่เราต้องชำระนั้นลดลงแล้ว
-พักชำระเงินต้น
การพักชำระเงินต้นนั้น คือ การพักชำระเงินต้นไปก่อน แต่ดอกเบี้ยยังคงผ่อนเหมือนเดิม เช่น เคยผ่อนเงินต้น 8000 บาท + ดอกเบี้ย 12,000 บาท รวมเป็น 20,000 บาท ถ้าเจ้าหนี้อนุมัติจะเหลือชำระแค่ 12,000 บาท ไประยะเวลาหนึ่ง แต่ช่วงท้ายสัญญาจะต้องจ่ายเงินต้นคงค้างซึ่งจ่ายเป็นก้อนใหญ่หรือเป็นหนี้นานขึ้นนั่นเอง
-ลดอัตราดอกเบี้ย
การลดอัตราดอกเบี้ยนั้นคือการทำให้ค่างวดที่จ่ายต่อเดือนไป ตัดลดเงินต้นได้มากขึ้น และภาระดอกเบี้ยก็จะลดลงด้วยนั่นเอง
-ยก/ผ่อนปรนดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท) กำหนดให้สถาบันการเงินคิดดอกเบี้ยปรับบนฐานของงวดที่ผิดนัดชำระจริง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมขึ้นจึงขอเจรจาได้
-เพิ่มเงินทุนหมุนเวียน
การเพิ่มเงินทุนหมุนเวียนนั้นธนาคารแห่งประเทศไทยสนับสนุนให้สถาบันการเงินให้สินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนใหม่แก่กิจการพื้นฐานดี โดยแยกการจัดชั้นสินเชื่อชนิดนี้ออกจากสินเชื่ออื่น อาจจะเป็นหนี้เสียหรือ NPL ไปแล้ว ช่วยให้กิจการยังมีบัญชีสินเชื่อสถานะปกติไว้ใช้งานได้ โดยผู้กู้ต้องเตรียมข้อมูล เหตุผลและประมาณการจ่ายที่เกิดขึ้นข้างหน้าให้ สง. ประกอบการพิจารณาวงเงิน
-เปลี่ยนหนี้ดอกแพงเป็นหนี้ดอกถูก
ลองเปลี่ยนหนี้ดอกแพงให้เป็นหนี้ดอกถูก เช่น หนี้บัตรเครดิต และบัตรกดเงินสดเป็นแหล่งทุนหมุนเวียนที่ดอกเบี้ยสูง ควรเปลี่ยนเป็นสินเชื่อแบบมีกำหนดระยะเวลาชำระที่ดอกเบี้ยถูกกว่ามาก
-ปิดจบด้วยเงินก้อน
หากลูกหนี้สามารถหาเงินก้อนได้แม้จะไม่มากเท่ายอดหนี้ที่มีอยู่ก็สามารถเจรจาขอส่วนลดให้เพียงพอต่อการปิดหนี้จบทั้งบัญชีได้จะได้หมดภาระค่างวดรายเดือนไปอีกก้อนหนึ่ง
-รีไฟแนนซ์
การรีไฟแนนซ์นั้นคือการปิดวงเงินสินเชื่อ จากเจ้าหนี้เดิมไปใช้สินเชื่อของเจ้าหนี้ใหม่ที่ให้เงื่อนไขที่ดีกว่านั่นเอง
สามารถรับข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : คลิกที่นี่
อ้างอิง : คลิกที่นี่