ระดับพายุ
อย่างที่ทุกท่านรู้กันดีอยู่แล้วว่าพายุที่มีความรุนแรงมากที่สุด คือพายุทอร์นาโด ที่มีความเร็วสูงสุด 800 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 50-500 เมตร พัดทำลายสิ่งที่อยู่บนพื้นผิวโลกได้เป็นวงกว้าง เป็นพายุที่ก่อตัวจากก้อนเมฆ และมีลักษณะเป็นวงเกลียว พายุทอร์นาโดเรียกอีกอย่างว่าพายุงวงช้าง ส่วนใหญ่เกิดขึ้นบนบก เกิดจากลมร้อนและลมเย็นมาก่อตัวกันจนเกิดลมหมุน พบบ่อยที่สหรัฐอเมริกา

ไม่สามารถคาดการณ์การเกิดพายุทอร์นาโดล่วงหน้าได้นาน การเกิดทอร์นาโดแต่ละครั้งจะใช้เวลา 1-2 ชั่วโมง โดยพายุหมุนเขตร้อน (Tropical Cyclone) ที่มี ระดับพายุ ความรุนแรงลดหลั่นลงมา คือ พายุหมุนเขตร้อน แบ่งออกเป็น พายุไต้ฝุ่น พายุโซนร้อน และพายุดีเปรสชัน แต่อย่างไรก็มามานี้เราจะมาเจาะลึกไต้ฝุ่นมีกี่ระดับ พายุมีกี่ประเภท รุนแรงแตกต่างกันอย่างไร

วิธีเช็คพร้อมเพย์ว่าผูกกับธนาคารอะไร สำหรับใช้ในการรับเงินดิจิตอล 10000 บาท 

ระดับพายุ แบ่งออกกันแบบไหน วัดจากอะไร

การแบ่ง ระดับพายุ ต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับมาตราหน่วยการวัด หรือระดับความรุนแรงของพายุ ได้แก่

1.ระดับพายุต่างๆ ตามมาตราแซฟเฟอร์-ซิมป์สัน (Saffir-Simpson Hurricane Wind Scale)
มาตราวัดระดับพายุของแซฟเฟอร์-ซิมป์สัน เป็นมาตรวัดระดับพายุเฮอริเคน แบ่งเป็น 5 ระดับ ดังนี้

  • ระดับ 1 ความเร็วลม 119-153 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง
  • ระดับ 2 ความเร็วลม 154-177 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง
  • ระดับ 3 ความเร็วลม 178-209 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง
  • ระดับ 4 ความเร็วลม 210-249 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง
  • ระดับ 5 ความเร็วลม 250 กิโลเมตร ต่อชั่วโมงขึ้นไป

2.ระดับพายุต่าง ๆ ตามมาตราฟูจิตะ (Fujita Scale)

มาตราวัดระดับพายุตามมาตราฟูจิตะ เป็นมาตรวัดระดับพายุทอร์นาโด แบ่งเป็น 6 ระดับ ดังนี้

  • ระดับ F0 ความเร็วลม 64-116 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง
  • ระดับ F1 ความเร็วลม 117-180 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง
  • ระดับ F2 ความเร็วลม 181-253 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง
  • ระดับ F3 ความเร็วลม 254-332 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง
  • ระดับ F4 ความเร็วลม 333-418 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง
  • ระดับ F5 ความเร็วลม 419-512 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง

พายุมีกี่ประเภท มาทำความเข้าใจกัน

พายุหมุนเขตร้อน เกิดขึ้นบนผิวน้ำและมหาสมุทร ความร้อนก่อตัวขึ้นทำให้ผิวน้ำมีอุณหภูมิสูงกว่า 27 องศาเซลเซียส เกิดเป็นพายุที่มีลมพัดรุนแรง มีความเร็วลมอยู่ที่ 120 – 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แบ่งออกเป็น 3 แบบ ดังนี้

  1. ระดับพายุไต้ฝุ่น หรือพายุเฮอริเคน มีความเร็วลมสูงสุด ณ จุดศูนย์กลางอยู่ที่ 68 นอต หรือ 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเป็นต้นไป เมื่อมีจุดกำเนิดที่ทวีปอเมริกาจะเรียกว่าพายุเฮอริเคน และหากมีจุดกำเนิดจากเอเชียแปซิฟิกจะเรียกว่าพายุไต้ฝุ่น ถือว่ามีความรุนแรงกว่าพายุโซนร้อน และพายุดีเปรสชัน มองเห็นแนวขดเกลียวเรียกตาพายุ
  2. พายุโซนร้อน (Tropical Stome) มีความเร็วลมสูงสุด ณ จุดศูนย์กลาง 63-118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เกิดขึ้นขณะที่พายุเฮอริเคนอ่อนตัว เคลื่อนตัวในทะเล เมื่อพัดเข้าชายฝั่งจะสร้างความเสียหาย
  3. พายุดีเปรสชัน (Tropical Depression) มีความเร็วลมสูงสุด ณ จุดศูนย์กลางต่ำกว่า 63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อาจทำให้น้ำท่วมได้ แต่ไม่ทำให้บ้านเรือนเสียหาย มองเห็นกลุ่มเมฆหนาเป็นวงกลม แต่มองไม่เห็นแนวขดเกลียวแบบตาพายุ

สรุป ระดับพายุ มีความรุนแรงตั้งแต่พายุเมฆฝนฟ้าคะนอง ไปจนถึงพายุที่สร้างความเสียหายแก่บ้านเรือน มีชื่อเรียกตามหน่วยมาตรวัดกำหนดโดยประเทศที่พบพายุรุนแรงบ่อยๆ เช่น สหรัฐอเมริกาที่พบพายุหมุนเฮอริเคน และญี่ปุ่นที่มักพบกับพายุโซนร้อน โดยวัดตามความแรง หรือความเร็วหมุนรอบจุดศูนย์กลาง เรียงตาม 1.พายุดีเปรสชัน 2.พายุโซนร้อน 3.พายุไต้ฝุ่น โดยมีแหล่งกำเนิดของพายุไต้ฝุ่นเกิดที่มหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนพายุไซโคลน เกิดที่มหาสมุทรอินเดีย และพายุเฮอริเคน เกิดที่มหาสมุทรแอตแลนติก


ขอบคุณเนื้อหาจาก : wikipedia

เป็นกำลังใจช่วยแชร์หน่อยค่ะ



ball