รู้จัก รอยเลื่อนสะกาย Sagaing Fault ฉายายักษ์หลับกลางเมียนมา หนึ่งในรอยเลื่อนมีพลังที่สำคัญที่สุดในอาเซียน จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว เมื่อเวลา 13.20 น.ของวันที่ 28 มีนาคม ความรุนแรงขนาด 8.2 ระดับลึก 10 กม. ในครั้งนี้ทำให้รับรู้แรงสั่นสะเทือนไกลถึง “ประเทศไทย” และประเทศที่มีพรมแดนติดกับเมียนมา เช่น จีน (ยูนนาน) อินเดีย และบังกลาเทศ มีรายงานการเกิด “ตึกถล่ม”
ซึ่งเป็นตึกที่กำลังก่อสร้างในเขตพื้นที่จตุจักร กรุงเทพฯ มีผู้เสียชีวิตจำนวนหนึ่งและมีผู้ติดค้างในตึก 43 คน ซึ่งศูนย์กลางอยู่อยู่ที่ประเทศเมียนมา ห่างจากอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน 326 กิโลเมตร ทำให้ประชาชนหลายพื้นที่ของประเทศไทยรับรู้แรงสั่นสะเทือน นอกจากนี้ยังมีอาฟเตอร์ช็อกตามมาที่ระดับ 7.1 และยังคงเฝ้าติดตามเป็นระยะ
ฆาตกรล่องหน เปิดเรื่องราว ฆาตกรต่อเนื่องสุดลึกลับ ฉายา The Phantom Killer
รอยเลื่อนสะกาย Sagaing Fault ยักษ์หลับกลางกรุงเมียนมา ที่สำคัญอันดับต้น ๆ ของอาเซียน
รอย เลื่อนสะกาย Sagaing Fault บเป็นหนึ่งใน รอยเลื่อนที่มีพลัง active fault สำคัญอันดับต้น ๆ ในแถบประเทศอาเซียน มิตรเอิร์ธ – mitrearth ระบุว่า รอยเลื่อนสะกายมีความยาวประมาณ 1,200 กิโลเมตร วางตัวอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ผ่ากลางอก ของประเทศเมียนมา และพาดผ่านแทบทุกเมืองสำคัญ เริ่มจากเมืองมิตจีนา Myitkyina มัณฑะเลย์ Mandalay ตองยี Tounggyi เนปิดอว์ Naypyidaw พะโค Bago ย่างกุ้ง Yangon และยังลากยาวต่อลงไปในทะเลอันดามัน จึงถูกขนานให้เป็น “ยักษ์หลับกลางเมืองเมียนมา
นอกจากนี้ รอยเลื่อนสะกายยังถูกขนานนามว่าเป็น “ทางด่วนรอยเลื่อนแผ่นดินไหว” เนื่องจากมีศักยภาพที่จะส่งเสริมให้เกิดแผ่นดินไหวแบบแรงเฉือนสูง เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อความเร็วการแตกของแผ่นดินไหวเกิน ความเร็ว คลื่น S และอาจไปถึงความเร็วคลื่น P การแตกที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว สามารถสร้างความเสียหายมหาศาลได้ รูปทรงที่ค่อนข้างตรงของรอยเลื่อนสะกาย ซึ่งเป็นรูปทรงยาวต่อเนื่อง รอยเลื่อนนี้ตั้งอยู่ใกล้กับพื้นที่ที่มีประชากรอาศัยอยู่ แผ่นดินไหวแบบแรงเฉือนสูงจึงอาจส่งผลกระทบร้ายแรง
รอยเลื่อนสะกายเคยก่อให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่หลายครั้งในเมียนมา เช่น พ.ศ. 2455 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.0 ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ ส่งผลให้เจดีย์สำคัญพังทลายแรงสั่นสะเทือนครั้งนั้นสามารถรับรู้ได้ถึงภาคเหนือ และพื้นที่ กรุงเทพฯ นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2473 ยังเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.3 ที่เมืองพะโค ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 500 คน ทั้งนี้จากข้อมูลระหว่าง พ.ศ. 2516 – 2566 พบรายงานว่ารอยเลื่อนสะกายทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.9-7.0 อย่างน้อย 668 ครั้ง และนักธรณีวิทยาประเมินว่า ในช่วง 5-10 ปีข้างหน้า มีโอกาสที่รอยเลื่อนนี้จะมีพลัง ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดสูงสุดถึงระดับ 7.5 เนื่องจากรอยเลื่อนนี้ยังมีพลังที่ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ซึ่งเกิดขึ้นในอดีตมาแล้ว
นอกจากนี้จากการเก็บข้อมูลเพื่อระบุตำแหน่งพื้นโลกจากเครื่องจีพีเอสความละเอียดสูง ที่ติดตั้งกระจายทั่วประเทศพม่า นักธรณีวิทยา Nielsen และคณะ, 2004; Socquet และคณะ, 2006 พบว่า ปัจจุบันแผ่นเปลือกโลกอินเดียวิ่งชนยูเรเซียด้วยอัตราเร็ว 35 มิลลิเมตร/ปี และมีการถ่ายเทแรงเค้นทางธรณีแปรสัณฐาน tectonic stress เข้ามาภายในแผ่นยูเรเซีย ทำให้รอยเลื่อนสะกาย มีอัตราการเคลื่อนตัวหย่อน ๆ ลงมาที่ 18 มิลลิเมตร/ปี ซึ่งก็ยังถือว่า เร็วและดุพอสมควรถ้าเทียบกับรอยเลื่อนส่วนใหญ่ของไทย
สรุป รอยเลื่อนสะกาย Sagaing Fault ถือเป็นหนึ่งในรอยเลื่อนมีพลัง active fault ที่สำคัญอันดับต้น ๆ ในอาเซียนบ้านเรา ซึ่งคำว่า Sagaing Fault สมัยก่อนคนไทยเคยอ่าน “รอยเลื่อนสะเกียง” ต่างชาติอ่าน “รอยเลื่อนสะแกง” ต่อมาชาวเมียนมาบอกว่า บ้านเขาเรียกว่า “รอยเลื่อนสะกาย” ทุกวันนี้จึงสรุปเรียกให้ตรงกันว่า “รอยเลื่อนสะกาย” ตามเจ้าของพื้นที่ โดยรอยเลื่อนสะกายยังคงเลื่อนตัวอยู่ในปัจจุบัน
ทำให้ตลอดแนวรอยเลื่อนยังมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลแผ่นดินไหวที่ตรวจวัดได้จากเครื่องมือตรวจวัดในช่วงปี พ.ศ. 2507 – พ.ศ. 2555 พบว่า เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.9-7.3 อย่างน้อย 280 ครั้ง และหากย้อนกลับไปถึงบันทึกประวัติศาสตร์พบว่า รอยเลื่อนสะกายเคยเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ในระดับที่สร้างความเสียหายหลายต่อหลายครั้ง จึงถือว่าเป็นแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวสำคัญสามารถเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่และมีโอกาสสร้างภัยพิบัติทั้งต่อประเทศเมียนมาโดยตรงรวมถึงประเทศไทยได้
ขอบคุณเนื้อหาจาก : wikipedia