ปุ่ม Trip A
TRIP หรือชื่อเต็มๆ ว่า TRIP Meter จะทำหน้าที่เป็นมาตรวัดระยะทางในการขับขี่คล้าย ๆ กับ ODO แต่ระบบ TRIP ผู้ใช้งานจะสามารถกดรีเซ็ทค่าให้เป็น 0 ได้ โดยตัวมิเตอร์นี้ จะทำหน้าที่วัดระยะทางขับขี่ตั้งแต่จุดที่เรารีเซ็ท ไปถึงจุดหมายปลายทางที่เราไป โดยมาตรวัดตัวนี้ผู้ใช้งานอาจจะนำไปใช้คำนวณระยะทางในการขับขี่ต่อครั้ง หรือจะเอาไปวัดระยะทางสำหรับการใช้งานในแต่ละวันก็สุดแล้วแต่ว่าใครจะใช้ยังไงเลย โดยตัวทริปมิเตอร์นี้ ส่วนใหญ่จะมีทั้งแบบทริปเดียว หรือ 2 ทริป ซึ่งแบบ 2 ทริปนี้ ก็จะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปแล้วแต่ค่ายผู้ผลิตรถเลย ไม่ว่าจะ ปุ่ม Trip A หรือ Tr ip B และ Tr ip 1หรือ Tr ip 2 ก็ตาม แม่ชื่อจะแตกต่างกัน แต่มันก็คือตัวเดียวกัน มีหลักการทำงานเหมือนกันนั่นเอง แต่เคยสงสัยไหมว่ามีประโยชน์อย่างไร หรือใช้งานอย่างไรถึงจัถูกต้อง

NETA X รีวิว ราคาและสเป็ค รถไฟฟ้าค่ายจีน ราคาโคตรโดน

ปุ่ม Trip A / Trip B ใช้ทำอะไร มาหาคำตอบได้กันเลย

หากเคยลองสังเกตรถยนต์รุ่นใหม่ๆ จะพบว่าผู้ขับขี่สามารถปรับค่าการแสดงระยะทางขับขี่แบบ Tr ip A หรือ Tr ip B ได้ โดยสามารถเลือกรีเซ็ตเฉพาะค่าใดค่าหนึ่ง หรือทั้งสองค่าก็ได้ จนหลายคนอดสงสัยไม่ได้ว่าฟังก์ชันเหล่านี้มันมีประโยชน์อย่างไรกันแน่?

ประโยชน์ของ ปุ่ม T rip A และ Tr ip B ยกตัวอย่างเช่น Tr ip A สามารถใช้วัดระยะทางจากจุด A ไปยังจุด B ตามปกติ ขณะที่ Tr ip B สามารถรีเซ็ตหลังเติมน้ำมันเพื่อหาอัตราสิ้นเปลืองของตัวรถได้ โดยไม่กระทบต่อระยะทางหลัก (Tr ip A) นั่นเอง

ส่วนวิธีการหาอัตราสิ้นเปลืองก็ทำได้ง่ายๆ แถมยังแม่นยำกว่าที่โชว์บนหน้าจอ เพียงแค่เติมน้ำมันจนเต็มถัง จากนั้นรีเซ็ต Trip A หรือ Trip B แล้วนำรถไปใช้งานตามปกติ เมื่อต้องการวัดอัตราสิ้นเปลือง ให้เติมน้ำมันกลับจนเต็มถัง จากนั้นนำระยะทางหลังรีเซ็ต มาหารด้วยจำนวนลิตรที่เติมกลับเข้าไป ก็จะได้อัตราสิ้นเปลืองหน่วยเป็น กม./ลิตร ยกตัวอย่างเช่น ระยะทางวิ่ง 200 กม. เติมน้ำมันกลับได้ 10 ลิตร จะเท่ากับ 200/10 = 20 กม./ลิตร

ทั้งนี้ รถบางรุ่นหากมีการรีเซ็ต Trip A ก็จะทำการรีเซ็ตตัวเลขอัตราสิ้นเปลืองเฉลี่ยควบคู่กันไปด้วย โดยส่วนมากระบบ Trip A และ Trip B จะแสดงระยะทางสูงสุดที่ 9999.9 กิโลเมตร ก่อนวนกลับไปเริ่มต้นที่ 0 อีกครั้ง
ค่า Trip และ ODO แตกต่างกันอย่างไร
โดยสรุปแล้ว ค่า Trip และ ODO มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน และมีจุดประสงค์การใช้งานที่แตกต่างกัน อย่าง ODO ทำหน้าที่วัดระยะทางการใช้งานรถตั้งแต่รถถูกผลิตขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยที่ผู้ใช้ไม่สามารถรีเซ็ทได้ ส่วน Trip คือมาตรวัดระยะทางที่ผู้ใช้สามารถกำหนดเองได้ว่าจะใช้งานมันอย่างไร และสามารถรีเซ็ทด้วยตนเองได้

สรุป  ปุ่ม Trip A และ Tri p B มักใช้ในสถานการณ์ที่ผู้ขับขี่ส่วนใหญ่ มักนิยมใช้จับทริป ยกตัวอย่างเช่น 1. วัดระยะทางการขับขี่ในแต่ละวัน 2. วัดระยะทางการขับขี่ในการเดินทางข้ามจังหวัด 3. วัดระยะทางขับขี่ต่อน้ำมัน 1 ถัง ทั้งนี้ การรีเซ็ตตัวจับทริปในรถยนต์แต่ละรุ่น มีวิธีการที่แตกต่างกันออกไป ผู้ใช้ ควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม จากหนังสือคู่มือรถของท่านครับ


ขอบคุณเนื้อหาจาก : wikipedia

เป็นกำลังใจช่วยแชร์หน่อยค่ะ



ball