พาราลิมปิกอีกหนึ่งมหกรรมกีฬาที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจากโอลิมปิกที่จะมีการแข่งขันทุก ๆ 4 ปี เหมือนโอลิมปิก แต่ก่อนหน้านี้ประเทศเจ้าภาพจะจัดการแข่งขันโอลิมปิกและพาราลิมปิกคนละที่กัน แต่นับจากปี 1988 ที่กรุงโซลเป็นต้นมา ทางคณะกรรมการพาราลิมปิกสากล (IPC) และคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) ได้ตกลงร่วมกันว่าพาราลิมปิกและโอลิมปิกจะแข่งเมืองเดียวกันและใช้สถานที่เดียวกันในการจัดแข่งขัน
โดยแข่งโอลิมปิกก่อนแล้วต่อด้วยพาราลิมปิก ซึ่งมักจะจัดหลังจากการแข่งขันโอลิมปิกสิ้นสุดลงประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อใช้เวลาปรับสนามแข่งขันให้เหมาะกับนักกีฬาผู้พิการ นั้นเอง แต่เคยสงสัยไม่ว่า ประวัติ พาราลิมปิก มีความเป็นมาอย่างไร เริ่มจัดครั้งแรกตอนไหน หรือเกิดขึ้นได้อย่างไร มีความหมายและความสำคัญอย่างไร
วิธีเล่นรักบี้ กติการักบี้ฟุตบอล อีกหนึ่งกีฬายอดฮิต ที่คนนิยมเดิมพัน
ประวัติ พาราลิมปิก จากกีฬาทหารผ่านศึก จุดประกายฝัน ผู้พิการทั่วโลก
ประ วัติ พารา ลิมปิก มีจุดเริ่มต้นก่อนจะมาเป็นพาราลิมปิกในปัจจุบัน เกิดขึ้นจากการจัดการแข่งขันสโต๊ก แมนเดวิลล์ เกมส์ (Stoke Mandeville Games) ซึ่งเป็นความคิดของ เซอร์ ลุดวิก กุตต์มานน์ (Sir Ludwig Guttmann) นักประสาทวิทยาชาวเยอรมันที่ถือสัญชาติอังกฤษ และช่วงปี 1939 เซอร์ ลุดวิก อพยพหนีสงครามโลกครั้งที่ 2 มาอยู่ประเทศอังกฤษ
ในปี 1944 เขาได้ก่อตั้งศูนย์ผู้บาดเจ็บกระดูกสันหลังแห่งชาติ ณ โรงพยาบาลสโต๊ก แมนเดวิลล์ (Stoke Mandeville Hospital) ที่บักกิ้งแฮมเชียร์ประเทศอังกฤษ จากความเชื่อที่ว่ากีฬาเป็นวิธีสำคัญที่จะช่วยบำบัดทหารที่บาดเจ็บกระดูกสันหลัง ทั้งยังช่วยเสริมสร้างพละกำลังและความภาคภูมิใจในตัวเองให้กับพวกเขาอีกด้วย
ปลายเดือนกรกฎาคม 1948 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับการแข่งขันโอลิมปิก 1948 ที่ลอนดอน เซอร์ ลุดวิก ได้จัดการแข่งขันกีฬาสำหรับทหารผ่านศึกที่นั่งรถวีลแชร์ และตั้งชื่อการแข่งขันว่า สโต๊ก แมนเดวิลล์ เกมส์ มีทหารผ่านศึกที่บาดเจ็บจากสงคราม ทั้งหญิงและชายร่วมการแข่งขันทั้งหมด 16 คน (หญิง 2 ชาย 14 ) แข่งกีฬายิงธนูประเภทเดียว
นับจากนั้น เซอร์ ลุดวิก กุตต์มานน์ ได้จัดแข่งกีฬาทุกๆ ปี มีการเพิ่มประเภทกีฬาให้หลากหลายขึ้น มีผู้ร่วมแข่งขันมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งในปี 1952 สโต๊ก แมนเดวิลล์ เกมส์ ได้กลายเป็น International Stoke Mandeville Games เพราะมีนักกีฬาชาวเนเธอร์แลนด์ ที่เป็นทหารผ่านศึกเข้าร่วมการแข่งขันด้วย ในปี 1960 เป็นครั้งแรกที่สโต๊ก แมนเดวิลล์ เกมส์ จัดแข่งในต่างประเทศ ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี โดยจัดคู่ขนานกับโอลิมปิกเกมส์ มีนักกีฬา 400 คนจาก 23 ประเทศ เข้าร่วมการแข่งขัน
ปีนั้นเป็นการแข่งขันครั้งที่ 9 ของ International Stoke Mandeville Games ภายหลังทางคณะกรรมการพาราลิมปิกสากลได้ถือให้ปี 1960 เป็นการแข่งขันพาราลิมปิกครั้งแรก และพาราลิมปิกเป็นมหกรรมกีฬาที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถของนักกีฬาพิเศษจากทั่วโลก แสดงให้เห็นความสามารถของคนที่มีร่างกายแตกต่าง ไม่ว่าจะเป็น ตามองไม่เห็น ไม่มีแขน ไม่มีขา แต่มีความสามารถเล่นกีฬาได้เหมือนคนร่างกายปกติ หรืออาจเล่นได้ดียิ่งกว่า
ความหมายและความสำคัญ
พาราลิมปิก (Paralympic) มีความหมายอย่างไร
คําว่า “พาราลิมปิก” (Paralympic) ไม่ได้มีความเกี่ยวของกับคำว่า พาราไลซิส (Paralysis) หรือพาราพลีเจีย (Paraplegia) ที่หมายถึงภาวะอัมพาต ในภาษากรีก “para” แปลว่า นอกจากนี้ (Besides) หรือ เคียงคู่กัน (Alongside) ซึ่งเป็นการสื่อว่าการแข่งขันนี้จะจัดคู่กับโอลิมปิกทุกครั้ง ดังนั้น เจ้าภาพโอลิมปิกต้องรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพจัดแข่งพาราลิมปิกในปีเดียวกันด้วย
สัญลักษณ์พาราลิมปิก มีความหมายอย่างไร
สัญลักษณ์ของการแข่งพาราลิมปิกเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว 3 ชิ้น มีสีแดง น้ำเงิน และเขียว ซึ่งเป็นสีสามัญประจำธงชาติของเกือบทุกประเทศทั่วโลก ตัวพระจันทร์เสี้ยวเรียกว่า อาจิโต (Agito) ในภาษาละตินแปลว่า ฉันเคลื่อนไหว (I move) และคำขวัญของพาราลิมปิกคือ “Spirit in Motion” หรือ จิตวิญญาณในการเคลื่อนไหว เป็นการสื่อว่าถึงแม้ร่างกายอาจจะเคลื่อนไหวได้ไม่ดี แต่จิตวิญญาณพร้อมจะเคลื่อนไหวอย่างเต็มที่
สรุป ประวัติ พาราลิมปิก เป็นมหกรรมกีฬาที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจากโอลิมปิก กีฬาพาราลิมปิกมีจุดเริ่มต้นจากการแข่งขันกีฬาสำหรับทหารผ่านศึกที่ได้รับบาดเจ็บจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้ที่ริเริ่มไอเดียนี้คือ เซอร์ ลุดวิก กัทท์มันน์ (Ludwig Guttmann) นายแพทย์ชาวยิว-เยอรมัน ได้จัดการแข่งขันกีฬาขึ้นในปี 1948 ที่โรงพยาบาลสโต๊ค แมนเดวิลล์ ในประเทศอังกฤษ
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพของทหารผ่านศึก ในปี 1960 การแข่งขันกีฬาสำหรับผู้พิการได้ขยายวงกว้างขึ้น และถูกจัดขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรกที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี โดยใช้ชื่อว่า “Paralympic Games” และมีนักกีฬาจาก 23 ประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน
ขอบคุณเนื้อหาจาก : wikipedia