ประวัติทับลาน
อุทยานแห่งชาติทับลาน แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติที่มีความสำคัญ และป่าลานผืนสุดท้ายของประเทศไทย จากข้อมูลของ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดเผยว่า ในอดีตป่าลานที่อุดมสมบูรณ์มีขึ้นอยู่กระจายทั่ว ๆ ไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ต่อมาพื้นที่ป่าลานถูกรุกรานจากการขยายตัวของพื้นที่เกษตรกรรม

จนปัจจุบันลงเหลือป่าลานแห่งสุดท้ายที่บริเวณบ้านทับลาน บ้านขุนศรีบุพราหมณ์ และบ้านวังมืด จังหวัดปราจีนบุรี วันนี้จึงขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ ประวัติทับลาน หรือ อุทยานแห่งชาติทับลานประวัติ ซึ่งเป็นอุทยานแห่งชาติที่มีความสำคัญ และมีพื้นที่มากเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย รองจากอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

วิธีหาเลขโมเดลรองเท้าไนกี้ วิธีเช็กของปลอมของแท้ ทำอย่างไรมาดู 

ประวัติทับลาน หรืออุทยานแห่งชาติทับลาน มรดกโลกทางธรรมชาติ

ประวัติ ทับลาน หรือที่รู้จักในชื่อ อุทยานแห่งชาติทับลาน เป็นอุทยานแห่งชาติในภาคอีสานและภาคตะวันออก มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอปักธงชัย อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอครบุรี อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา และอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี สภาพป่ามีความอุดมสมบูรณ์และมีป่าลานซึ่งหาดูได้ยากที่มีเฉพาะบางท้องที่เท่านั้น มีต้นลานขึ้นตามธรรมชาติ เป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำลำธารต่าง ๆ และมีธรรมชาติที่สวยงาม เช่น หุบผา หน้าผา น้ำตก นับว่าเป็นอุทยานแห่งชาติที่มีพื้นที่มากเป็นอันดับสองของประเทศไทย รองจากอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลาน อุทยานแห่งชาติปางสีดา อุทยานแห่งชาติตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ได้รับการประกาศให้เป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติโดยยูเนสโก ภายใต้ชื่อ “กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่” และอุทยานแห่งชาติทับลาน ได้รับรางวัลอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Parks) ระดับทอง (ดีเยี่ยม) ประจำปี 2563

จากตรวจสอบสภาพป่าลาน เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2517 พบว่าป่าลานในบริเวณดังกล่าวเป็นป่าลานแห่งสุดท้ายของประเทศ เพื่ออนุรักษ์ป่าลานไว้ จึงมีดำริให้จัดตั้งป่าลานนี้เป็น “วนอุทยาน” มีเนื้อที่ประมาณ 58 ตารางกิโลเมตร หรือ 36,250 ไร่ และในการประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติครั้งที่ 1/2518 เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2518 ได้มีมติให้ดำเนินการวางแผนปฏิบัติการที่ป่าลานกบินทร์บุรี

ความสำคัญของอุทยานแห่งชาติทับลาน

  • อุทยานแห่งชาติทับลาน ป่าลานผืนสุดท้ายของประเทศไทย

อุทยานแห่งชาติทับลาน มีสังคมพืชที่จัดเป็นป่าลุ่มต่ำที่มีความสมบูรณ์มาก มีสังคมพืชที่มีการซ้อนทับกันของลักษณะทางนิเวศวิทยาของป่าภาคกลาง กับนิเวศวิทยาของป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้และสัตว์ป่าโดยเฉพาะบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติทับลาน ท้องที่ตำบลบุพราหมณ์ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี เป็นพื้นที่ที่มี ต้นลาน ป่าขึ้นกระจายพันธุ์ในพื้นที่อย่างหนาแน่น ซึ่งต้นลานจัดเป็นไม้ตระกูลปาล์ม เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ซึ่งเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นสูงประมาณ 10 – 26 เมตร จึงกล่าวได้ว่า ลานป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน เป็นป่าลานธรรมชาติผืนที่สมบูรณ์ที่สุด และผืนสุดท้ายของประเทศไทย

  • อุทยานแห่งชาติทับลาน บ้านหลังที่สองของเสือโคร่ง แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ

อุทยานแห่งชาติทับลาน เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 39 ของประเทศไทยมีสภาพป่ามีความอุดมสมบูรณ์ยิ่ง นอกจากป่าลาน ซึ่งหาดูได้ยากที่มีเฉพาะบางท้องที่ อุทยานแห่งชาติทับลาน ยังสมบูณณ์ด้วยป่าธรรมชาติ เป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำ ลำธารต่าง ๆ และมีธรรมชาติที่สวยงาม เช่น หุบผา หน้าผา น้ำตก เป็นอุทยานแห่งชาติที่มีเนื้อที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศไทย อุทยานแห่งชาติทับลานมีสังคมพืชที่จัดเป็นป่าลุ่มต่ำที่มีความสมบูรณ์มาก จัดเป็นสังคมพืชที่มีการซ้อนทับกันของลักษณะทางนิเวศของป่าภาคกลางและป่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ด้วยความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้ ประกอบไปด้วยป่าเต็งรัง ป่าผสมผลัดใบ และป่าดงดิบแล้ง และสัตว์ป่าหายาก โดยเฉพาะเสือโคร่ง ซึ่งเรียกได้ว่าป่าทับลาน เป็นบ้านหลังที่สองของเสือโคร่งในประเทศไทย รองจากกลุ่มป่าห้วยขาแข้ง – ทุ่งใหญ่นเรศวร จึงได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ กลุ่มป่าดงพญาเย็น – เขาใหญ่ จากยูเนสโก (UNESCO) ในปี พ.ศ. 2548 อีกทั้งเมื่อพิจารณาจากที่ตั้งภายในกลุ่มป่า จะเห็นได้ว่าอุทยานแห่งชาติทับลานมีพื้นที่ตั้งอยู่บริเวณใจกลางของกลุ่มป่าดงพญาเย็น – เขาใหญ่ จึงเป็นเรื่องที่น่ากังวลหากมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของพื้นที่อย่างมีนัยสำคัญที่ส่งผลกับความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณและสัตว์ป่าที่อยู่ภายในอุทยานแห่งชาติทับลานในอนาคต

สรุป ประวัติทับลาน เป็นอุทยานแห่งชาติในภาคอีสานและภาคตะวันออก มีสภาพป่ามีความอุดมสมบูรณ์และมีป่าลานซึ่งหาดูได้ยากที่มีเฉพาะบางท้องที่เท่านั้น มีต้นลานขึ้นตามธรรมชาติ มีสังคมพืชที่จัดเป็นป่าลุ่มต่ำที่มีความสมบูรณ์มาก หากพิจารณาตามประเภทของป่าแล้วสามารถจำแนกได้ 4 ประเภท ได้แก่ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น เบญจพรรณ และป่าเต็งรัง จัดเป็นสังคมพืชที่มีการซ้อนทับกันของลักษณะทางนิเวศวิทยาของป่าภาคกลางกับนิเวศวิทยาของป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้และสัตว์ป่าชุมชุม นอกจากนี้บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติทับลาน ท้องที่ ต.บุพราหมณ์ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี เป็นพื้นที่ที่มีต้นลานขึ้นกระจายในพื้นที่อย่างหนาแน่น จึงได้ชื่อว่าป่าลานผืนสุดท้ายที่สมบูรณ์และสวยงามที่สุดของประเทศไทย


ขอบคุณเนื้อหาจาก : wikipedia

 

เป็นกำลังใจช่วยแชร์หน่อยค่ะ



ball