ประจำเดือนขาด

เชื่อว่าสาว ๆ หลายคนคงต้องเคยพบเจอปัญหา ประจำเดือนขาด หรือ ประจำเดือนมาไม่ปกติ แต่ก็ไม่เคยหาสาเหตุสักเท่าไหร่เพราะมีอาการแบบนี้เป็นประจำ วันนี้จึงจะพาทุกคนมาดูว่าสาเหตุของประจำเดือนขาดไปมีอะไรบ้าง มาดูกันเลย

ประจำเดือน (Mense) คือ เลือดที่ไหลออกจากโพรงมดลูก พร้อมเยื่อบุโพรงมดลูกที่ตายแล้วหลุดลอก หลุดและแตกสลาย เกิดเป็นรอบประจำเดือนตามปกติทุก 21-36 วัน (นับจากวันแรกของประจำเดือน)

ประจำเดือนขาด (Amenorrhea / Missed Period) คือ ภาวะที่ประจำเดือนขาด หรือไม่มาตามปกติ โดยประจำเดือนต้องหายไป 3 เดือน ถึงจะเรียกได้ว่า “ภาวะประจำเดือนขาด” หาก ประจำเดือนขาดไปเพียง 1-2 เดือน จะเรียกว่า ภาวะประจำเดือนมาช้ากว่ากำหนด

ประจำเดือนขาด แบ่งได้ 2 ประเภท

  1. ภาวะขาดประจำเดือนปฐมภูมิ (Primary Amenorrhea) คือ ผู้หญิงอายุ 18 ปีแล้ว แต่ยังไม่เริ่มมีประจำเดือน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผู้หญิงมักจะเริ่มมีประจำเดือนตั้งแต่อายุ 12 ปี
  2. ภาวะขาดประจำเดือนทุติยภูมิ (Secondary Amenorrhea) คือ ผู้หญิงที่เคยมีประจำเดือนมาก่อน แต่ต่อมาประจำเดือนขาดหายไปอย่างน้อย 6 เดือน หรือ 3 รอบเดือน

สาเหตุการขาดประจำเดือน

  • การตั้งครรภ์
  • ความเครียด วิตกกังวล
  • โรควิตกกังวล (Anxiety disorders) โรคอารมณ์แปรปรวน (Mood disorders)
  • ใช้ยาคุมนานเกินไป
  • ช่วงให้นมลูก
  • วัยทอง ในช่วงวัยประมาณ 40-59 ปี
  • มีเนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง
  • ระดับฮอร์โมนผิดปกติ
  • น้ำหนักเพิ่มหรือลดมากเกินไป
  • ออกกำลังกายมากเกินไป
  • โรคเกี่ยวกับมดลูก
  • แท้ง แล้วตัดขูดมดลูก
  • ป่วยเป็นโรคบางอย่าง เช่น โรคของต่อมไธรอยด์ โรคของตับอ่อน และโรคของต่อมหมวกไต
  • ถุงน้ำรังไข่หลายใบ

ผลเสียจากประจำเดือนขาด

  • มีลูกยาก
  • เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น และอาจจะส่งผลให้เลือดออกผิดปกติ หากปล่อยไว้ก็เสี่ยงเป็นมะเร็งปาดมดลูกได้
  • อาจมีอาการเจ็บป่วยแฝงอยู่ในร่างกาย
  • กระดูกพรุน มวลกระดูกลดลง การขาดประจำเดือน ทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ ซึ่งฮอร์โมนเอสโตรเจนสำคัญต่อการดูดซึมแคลเซียมทั้งที่ไต และระบบทางเดินอาหาร เพื่อนำไปใช้ในการเสริมสร้างกระดูก การมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำนาน ๆ จึงส่งผลกับกระดูกและนานเข้าก็เสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนได้

วิธีแก้ปัญหาประจำเดือนขาด

1.ผ่อนคลาย ไม่เครียด ความเครียดส่งผลโดยตรงต่อประจำเดือนของเรา ลองหาเวลาพักผ่อนเพื่อผ่อนคลายบ้างนะ

2.หมั่นสังเกตร่างกาย ควรมีการบันทึกประจำเดือนทุกครั้งไม่ว่าจะเป็น ปริมาณประจำเดือน สี จำนวนวัน และอาการข้างเคียงขณะมีประจำเดือน

3.ออกกำลังกายแต่พอดี สาวๆที่มีไขมันน้อย ควรออกกำลังกายอย่างพอดีอย่าหักโหมเกินไป

4.ควบคุมน้ำหนักตามเกณฑ์

5.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สำหรับคนที่ประจำเดือนรดให้เน้นอาหารที่มีธาตุเหล็ก และแคลเซียม เพิ่มขึ้น

6.หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เป็นต้น

7.พบสูตินรีแพทย์ หากแก้ไขพฤติกรรมแล้วยังไม่ดีขึ้น ให้ไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุแท้จริง

แนวทางการรักษาเมื่อ ประจำเดือนขาด

  • กินยาฮอร์โมนเสริม หากเราไม่ได้ผอม หรืออ้วนเกินไป ไม่มีภาวะอื่นแทรกซ้อน คุณหมอจะให้ทานยาฮอร์โมนเสริม
  • กินยาคุมกำเนิด หากมีความผิดปกติ เช่น ถุงน้ำรังไข่หลายใบ แพทย์อาจจ่ายยาคุมกำเนิดแบบเม็ด หรือยาที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพื่อช่วยรักษาอาการ
  • รักษาอาการป่วยอื่น ๆ หากคุณหมอตรวจดูแล้วมีโรคอื่นที่ส่งผลให้เกิดการขาดประจำเดือนคุณหมอจะรักษาอาการอื่น ๆ ก่อน เพื่อให้ประจำเดือนมาอย่างปกติ

สามารถรับข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : คลิกที่นี่

อ้างอิง : คลิกที่นี่

 

เป็นกำลังใจช่วยแชร์หน่อยค่ะ



ball