เมื่อพูดถึง ตะลิงปลิง หลายคนคงรู้จักเป็นอย่างดี ตะลิงปลิงเป็นผลไม้ลูกเล็กลักษณะเรียวยาวทรงคล้ายๆมะละหอมินิ รสชาติเปรี้ยวมักเอามาทานสด หรือทำเป็นแกงส้มก็ได้เช่นกัน วันนี้จะพาทุกคนมารู้จักกับตะลิงปลิงให้มากกว่าเดิม
ลักษณะของ ตะลิงปลิง
- ต้นตะลิงปลิง มีถิ่นกำเนิดในแถบชายฝั่งทะเลของบราซิล เป็นไม้ผลที่นิยมปลูกทั่วไปเพราะลำต้นมีพวงแน่นที่สวยงาม และยังเป็นพืชร่วมวงศ์กับมะเฟือง แต่จะแตกต่างกันอย่างชัดเจนตรงขนาดของผล โดยผลมะเฟืองจะมีขนาดใหญ่กว่าผลตะลิงปลิง ต้นตะลิงปลิงนั้นจัดเป็นพืชในเขตร้อนและเป็นไม้ผลยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 5-15 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นสีชมพู ผิวเรียบมีขนนุ่มปกคลุมอยู่ตามกิ่ง ลักษณะของ
- ใบตะลิงปลิงเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบสีเขียวอ่อนมีขุยนุ่มปกคลุม ใบคล้ายรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบมน ในหนึ่งก้านจะมีใบย่อยประมาณ 11-37 ใบ ขนาดใบกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาว 2-5 เซนติเมตร ส่วนลักษณะของดอกตะลิงปลิง จะออกดอกเป็นช่อหลายช่อ ตามกิ่งและลำต้น โดยในแต่ละช่อจะมีความยาวไม่เกิน 6 นิ้ว ลักษณะดอกมีกลีบ 5 กลีบ ดอกสีแดงเข้ม มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบสีเขียวอมชมพู มีเกสรกลางดอกสีขาว
- ผลตะลิงปลิง ลักษณะกลมยาวปลายมน ผลยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร เป็นพูตามยาว ออกผลเป็นช่อห้อย ผิวของผลมีลักษณะเรียบสีเขียว แต่เมื่อสุกแล้วจะกลายเป็นสีเหลือง เนื้อข้างในเป็นเนื้อเหลว มีรสเปรี้ยว และมีเมล็ด ลักษณะของเมล็ดตะลิงปลิงจะแบนยาว มีสีขาว
สรรพคุณของตะลิงปลิง
ผล
- ช่วยทำให้เจริญอาหาร
- ผลใช้ผสมกับพริกไทย นำมารับประทานจะช่วยขับเหงื่อได้
- ตะลิงปลิงมีสรรพคุณช่วยฟอกโลหิต
- ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
- สรรพคุณเป็นยาลดไข้
- ช่วยละลายเสมหะ แก้เสมหะเหนียวข้น
- ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร
- ช่วยบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร
- ใช้เป็นยาบำรุงแก้อาการปวดมดลูก
ใบ
- ในประเทศฟิลิปปินส์ใช้ใบพอกรักษาคางทูม
- ช่วยรักษาอาการอักเสบของลำไส้
- ใบใช้รักษาโรครูมาตอยด์
- ช่วยแก้ไขข้ออักเสบ
- ใบตะลิงปลิงใช้พอกแก้อาการคัน ลดอาการบวมแดงให้หายเร็วขึ้น หรือใช้ต้มอาบก็ได้
ราก
- ช่วยดับพิษร้อนของไข้
- ช่วยแก้พิษร้อนใน แก้กระหายน้ำ
- ช่วยแก้อาการเลือดออกตามกระเพาะอาหารและลำไส้
- ช่วยรักษาซิฟิลิส (Syphilis)
- ช่วยบรรเทาอาการของโรคเกาต์
คุณค่าทางโภชนาการของ ตะลิงปลิง (เฉพาะส่วนที่กินได้) ต่อ 100 กรัม
- โปรตีน 0.61 กรัม
- แคโรทีน 0.035 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 1 0.010 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 2 0.026 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 3 0.302 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 15.5 มิลลิกรัม
- ธาตุแคลเซียม 3.4 มิลลิกรัม
- ธาตุเหล็ก 1.01 มิลลิกรัม
- ธาตุฟอสฟอรัส 11.1 มิลลิกรัม
สามารถรับข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : คลิกที่นี่
อ้างอิง : คลิกที่นี่