ซาแซง คืออะไร

จากกรณีดราม่าสุดร้อนแรงของศิลปินหนุ่มเสียงดี แสตมป์-อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข (Stamp) ศิลปินชื่อดัง เปิดใจกลางคอนเสิร์ต หลัง นิว-จีริสุดา ศรีวัฒน์ ภรรยา ถูกคุกคามจากลูกสาวนายพล พร้อมสร้างความเกลียดชังให้เกิดความเข้าใจผิดกับคนรอบตัวของคุณแสตมป์ และบุกรุกมาหาถึงหลังเวทีจน แสตมป์ ทำงานไม่ได้

นอกจากนี้ ลูกสาวนายพลยังตามตารางงาน ตามไปถึงปั๊มน้ำมัน หน้าโรงแรม และเคยนั่งข้างตนบนเครื่องบิน ทำให้นักร้องดังดำเนินการฟ้องร้อง และต้องห่างหายจากวงการนับปี

โดยพฤติกรรมดังกล่าวนั้น ทำให้หลายคนคิดว่า เป็นพฤติกรรมในลักษณะของซาแซงที่เกิดจากการคลั่งศิลปินมาก จนมีกระแสพูดถึงเรื่องราวดั่งกล่าวบนทวิตเตอร์ (X) มากกว่า 2.4 ล้านครั้ง โดยเราจะชวนมาทำความรู้จัก ซาแซง คืออะไร เปิดความหมายซาแซงคำศัพท์ภาษาเกาหลีที่กำลังถูกพูดถึงบนโลกออนไลน์

คาถายันทุนฯ ( อภัยปริตร ) คืออะไร เคล็ดลับวิธีแก้ฝันร้าย ลางร้าย

ซาแซง คืออะไร ทำความเข้าใจศัพท์ยอดฮิตที่ใช้เรียกแฟนคลับผู้คลั่งไคล้ศิลปินแบบสุดโต่ง

สำหรับซาแซงแฟน หรือ ซา แซง คือ อะไร เป็นคำภาษาเกาหลีใต้ที่ใช้เรียกแฟนคลับที่คลั่งไคล้ไอดอล ศิลปิน นักแสดงละคร หรือบุคคลสาธารณะอื่น ๆ ในวงการบันเทิง ถึงขนาดบุกรุกความเป็นส่วนตัว ไปจนถึงขั้นสะกดรอยตาม และมีพฤติกรรมรุกรานความเป็นส่วนตัวของศิลปิน มาจากคำว่าซาแปลว่าส่วนตัวและแซงแปลว่าชีวิตเป็นการอ้างถึงแฟนคลับที่บุกรุกชีวิตส่วนตัวของคนดัง

มักเป็นคำที่ใช้กันในวงการ K-Pop เมื่อแฟนคลับบางรายคลั่งไคล้ศิลปินไอดอลเกาหลีจนก่อเหตุคุกคามความเป็นส่วนตัว เช่น ส่งข้อความก่อกวน บุกรุกที่พัก แอบติดตามศิลปินไปยังสถานที่ต่างๆ โดยพลการ ส่งของไม่เหมาะสมไปให้ศิลปิน ฯลฯ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้สร้างความรู้สึกไม่ปลอดภัยให้กับศิลปินนั่นเอง

เหตุอะไรกันที่ทำให้คนคนหนึ่งกลายเป็นซาแซง

หนึ่งในคำตอบอาจหาได้จากงานวิจัย “Sasaengpaen” or K-pop Fan? Singapore Youths, Authentic Identities, and Asian Media Fandom โดย เจ. แพทริก วิลเลียม (J. Patrick Williams) และ ซาแมนธา เซียง ซิน (Samantha Xiang Xin) จากมหาวิทยาลัย Nanyang Technological University ประเทศสิงคโปร์ เป็นหนึ่งในไม่กี่งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสตอล์คเกอร์และอุตสาหกรรมเคป๊อป ซึ่งเล็งเป้าไปศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม ตัวตน และการเกิดขึ้นของซาแซงแฟนและแฟนคลับเคป๊อปธรรมดาจริงๆ

แม้ว่าจะเป็นการศึกษาที่เกิดขึ้นในประเทศสิงคโปร์ แต่หลายๆ ข้อมูลที่ผู้วิจัยศึกษาออกมาได้นั้นสามารถนำไปปรับใช้ได้โดยไร้พรหมแดนประเทศเป็นตัวตัดขาด เนื่องจากเมื่อพูดจริงๆ แล้ว วัฒนธรรมของแฟนด้อมเกาหลีหรือประเทศแถบเดียวกันสักหนึ่งแฟนด้อมนั้น แทบจะเป็นสิ่งที่แยกตัวของมันเดี่ยวๆ ออกจากบริบทของประเทศที่มันไปอยู่เกือบทั้งหมด

 

งานวิจัยเล่าว่า ความหมกมุ่นอย่างเข้มข้นของซาแซงแฟนนั้นเกินเลยจากขั้นของความภักดีไปแล้ว แต่เป็นความต้องการที่จะโดดเด่นออกมาจากฝูงชนแฟนคลับคนอื่นๆ นั่นคือเหตุผลให้บางคนทำพฤติกรรมที่สร้างความเสี่ยงมากขึ้นเรื่อยๆฉันรู้สึกว่ามันทำให้ฉันได้รู้จักและเข้าใกล้ไอดอลที่ฉันรักมากขึ้น

ถ้าฉันไปคอนเสิร์ตมันก็มีคนเป็นพันเป็นหมื่นคนไปด้วย ไอดอลก็ไม่รู้หรอกว่าฉันเป็นใคร แต่การเป็นซาแซงแฟนทำให้พวกเขาจดจำฉันได้หนึ่งในโควตที่ผู้วิจัยยกมาจากงานวิจัยก่อนหน้า แล้วเราสามารถเป็นแฟนคลับที่ทุ่มเทและติดตามศิลปินอย่างไม่ข้ามเส้นได้จริงๆ หรือไม่? งานวิจัยชิ้นนี้ไม่ได้ศึกษาเพียงตัวตนของซาแซงแฟน แต่ยังศึกษาวิธีที่สื่อมวลชน แฟนคลับธรรมดา และซาแซงแฟนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกันด้วย โดยแฟนคลับธรรมดาในที่นี้คือคนที่ฟังเพลง ไปคอนเสิร์ต จ่ายเงินซื้อสินค้า และไม่ยุ่งเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของศิลปิน

ในการวิจัยพบว่าซาแซงแฟนมีมุมมองต่อแฟนคลับธรรมดาว่าเป็นพวกไม่จริงจัง’ (Casuals) คือเป็นกลุ่มคนที่เสียเงินให้กับวงอื่นๆ ด้วย ในขณะที่พวกซาแซงแฟนจะทุ่มเทให้กับวงวงเดียวเอาเงินตรงนั้นมาให้พวกเราดีกว่า เราต้องจ่ายค่ารถตู้หนึ่งในซาแซงแฟนที่กำลังจะตามวงบิ๊กแบง (BigBang) กล่าวกับผู้วิจัย

 

นอกจากนั้น ทั้ง 2 ฝั่งของกลุ่มแฟนคลับเหล่านี้มักมองว่าตัวเองสูงส่งกว่าอีกฝั่งเสมอ จากการสำรวจพบว่าแฟนคลับธรรมดานั้นมักแสดงตัวต่อต้านพฤติกรรมของซาแซงแฟนในพื้นที่สาธารณะและผลักซาแซงแฟนออกว่าไม่ใช่แฟนคลับที่แท้จริง

ซึ่งเป็นมุมมองที่ไม่น่าแปลกใจ แต่ที่น่าสนใจกว่านั้นคือซาแซงแฟนเองก็ไม่ได้มองว่าสิ่งที่ตัวเองทำนั้นเรียกว่าการเป็นซาแซงแฟนเช่นกันซาแซงแฟนจริงๆ น่ากลัวกว่านี้เยอะ” “แบบนี้ไม่เรียกซาแซงแฟนหรอก ของจริงต้องตามไปถึงห้องในโรงแรมกลุ่มซาแซงแฟนกลุ่มข้างต้นกล่าว

 

หากจะตอบคำถามว่าทำไมคนคนหนึ่งถึงเลือกจะเป็นซาแซงแฟนด้วยข้อมูลที่เราเสนอจากงานวิจัยนี้ คำตอบคงเป็นเพราะว่าพวกเขาไม่ได้มองว่าสิ่งที่พวกเขาเป็นคือซาแซงแฟนนั่นเอง แต่นอกจากนั้น งานวิจัยยังบอกอีกว่ามันคือความรู้สึกไม่พออีกด้วย ผู้วิจัยให้ข้อสังเกตว่าหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดซาแซงแฟน

คือความต้องการที่จะเชื่อมต่อทางกายภาพกับศิลปินและไอดอลของพวกเขา จากมุมมองที่สื่อกระแสหลัก แฟนคลับธรรมดา และบางครั้งซาแซงแฟนเองเป็นผู้ยืนยัน เช่นนั้นแล้วเราอาจต้องมาพูดถึงความไม่พอดังกล่าวหรือไม่ จึงจะสามารถไปหาคำตอบที่แท้จริงของคำถามได้

 

สรุป ซาแซง คืออะไร คำว่าซาแซง” (Sasaeng) มาจากภาษาเกาหลีที่เขียนว่า 사생팬 โดยคำว่าซาหมายถึง ความเป็นส่วนตัว ส่วนคำว่าแซงหมายถึง ชีวิต เมื่อรวมกันแล้วจึงหมายถึง

การมีพฤติกรรมที่คุกคามความเป็นส่วนตัวนั่นเอง อย่างไรก็ตามซาแซงไม่ได้เป็นเพียงคำศัพท์ในวงการ K-Pop เท่านั้น แต่จริงๆ แล้วยังสะท้อนถึงปัญหาการล้ำเส้นความเป็นส่วนตัวศิลปินของบรรดาแฟนคลับที่คลั่งไคล้จนเกินเหตุ การเคารพพื้นที่ส่วนตัวของผู้อื่นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรตระหนัก


ขอบคุณเนื้อหาจาก : wikipedia

เป็นกำลังใจช่วยแชร์หน่อยค่ะ



ball