ข้าวยีสต์แดง คืออะไร
ประโยชน์ของข้าวยีสต์แดงอาจช่วยลดไขมันในเลือด อย่างอื่นอีกมาก แต่ทว่าผลข้างเคียงและโทษของข้าวหมักเชื้อราชนิดนี้ก็ควรต้องใส่ใจด้วยเหมือนกัน โดยล่าสุดตามรายงานของสื่อญี่ปุ่นล่าสุด ผู้เสียชีวิตที่ต้องสงสัยเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของบริษัทโคบายาชิ ฟาร์มาซูติคัล บริษัทผู้ผลิตยารายใหญ่ ที่มีส่วนประกอบของเบนิ-โคจิ หรือที่รู้จักในชื่อ ข้าวยีสต์แดง ทำให้มีผู้เสียชีวิตโดยมียอดผู้เสียชีวิตที่คาดว่าอาจเชื่อมโยงกับการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารข้าวยีสต์แดงของบริษัท เพิ่มขึ้นเป็น 93 ราย สำหรับที่ยังไม่รู้จักว่า ข้าวยีสต์แดง คืออะไร และสามารถช่วยลดไขมัน หรือคอเลสเตอรอลได้ได้จริงไหม และมีความอันตรายต่อผู้บริโภคแค่ไหน

คาสิโนปอยเปต ประวัติ ปอยเปต เหตุใดเมืองนี้ถึงกลายเป็นแหล่งรวมการพนัน 

ข้าวยีสต์แดง คืออะไร อาหารพื้นบ้านที่อาจจะอันตรายต่อผู้บริโภค

ข้าวยีสต์ แดง คือ อะไร มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Red yeast rice คือ อาหารพื้นเมืองของชาวจีน ที่นำเม็ดข้าวมาผ่านกระบวนการหมักกับยีสต์รา Monascus purpureus ซึ่งเป็นยีสต์ที่มีสีแดง จึงทำให้ข้าวกลายเป็นสีแดงไปด้วย โดยข้าวยีสต์แดงมักจะนำมาใช้ปรุงอาหาร เช่น เต้าหู้ยี้ หมูแดง เป็ดปักกิ่ง และการปรุงเครื่องดื่ม เช่น เหล้า เบียร์ น้ำผลไม้ นมเปรี้ยว นอกจากนี้ในปัจุบันยังถูกนำมาปรุงยาพื้นบ้าน อาหารเสริม และเครื่องสำอางบางชนิด เพราะข้าวยีสต์แดงมีสารสำคัญต่อสุขภาพหลายชนิดด้วยกัน

สรรพคุณของข้าวยีสต์แดงอาจมีส่วนช่วยเรื่องสุขภาพ ดังนี้

  • ลดไขมันในเลือด
  • ดีต่อสุขภาพหัวใจ
  • ลดความเสี่ยงภาวะเมตาบอลิกซินโดรม
  • ลดการอักเสบในร่างกาย

การรับประทานข้าวยีสต์แดงอาจได้รับผลข้างเคียง

  • ท้องอืด อาหารไม่ย่อย
  • ท้องผูก
  • ท้องร่วง
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • เป็นตะคริวบ่อยกว่าปกติ
  • ปัสสาวะสีเข้ม
  • คลื่นไส้
  • หมดแรง
  • มองเห็นไม่ชัด
  • ผื่นลมพิษขึ้น
  • วิงเวียนศีรษะ
  • ตับอักเสบ

ข้าวยีสต์แดงเป็นอาหารหมักที่มีการใช้มานานในแถบเอเชียมานาน แต่ก็ยังมีโทษบางประการต่อร่างกาย เช่น

  • ในกระบวนการผลิตข้าวยีสต์แดงอาจสร้างสารพิษจากเชื้อรา (Mycotoxin) ชื่อ ซิตรินิน (Citrinin) และสารพิษชนิดนี้ก็อันตรายต่อไต เพิ่มความเสี่ยงภาวะไตวายได้
  • การได้รับสารจากข้าวยีสต์แดงในปริมาณที่มากและเป็นเวลานานเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงภาวะตับอักเสบ
  • การรับประทานข้าวยีสต์แดงร่วมกับยาบางชนิด เช่น ยาลดไขมันชนิดสแตติน, ยาปฏิชีวนะ, ยาต้านเชื้อรา และยาต้านรีโทรไวรัส ที่ใช้รักษา HIV อาจจะเสริมฤทธิ์ของยา และอาจเพิ่มภาวะเสี่ยงกล้ามเนื้ออักเสบและตับอักเสบได้

ข้อควรระวัง ในการรับประทานข้าวยีสต์แดง

กรณีรับประทานเป็นอาหารเสริมตรวจสอบฉลากอย่างละเอียด โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำหนดให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีข้าวยีสต์แดงเป็นส่วนประกอบสำคัญ ต้องมีสารโมนาโคลิน ไม่เกิน 3 มิลลิกรัมต่อวัน และปริมาณสารปนเปื้อนซิทรินิน ไม่เกิน 10.7 ไมโครกรัมต่อวัน นอกจากนี้บนฉลากต้องแสดงคำเตือน ดังนี้

  • ห้ามใช้เกินขนาดที่กำหนด
  • ห้ามใช้ในหญิงให้นมบุตร
  • ห้ามใช้ร่วมกับยาลดระดับไขมันในเลือด, ยากดภูมิคุ้มกัน, ยารักษาอาการซึมเศร้า และยาต้านไวรัสเอดส์
  • ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคตับ หรือโรคไต
  • ห้ามรับประทานติดต่อกันนานเกิน 4 เดือน (16 สัปดาห์)
  • ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน
  • หยุดรับประทานทันทีหากมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือมีอาการคล้ายเป็นไข้หวัด

ก่อนใช้ข้าวยีสต์แดงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง โดยเฉพาะหากจะรับประทานข้าวยีสต์แดงในรูปของอาหารเสริมหรือสารสกัด เนื่องจากข้าวยีสต์แดงมีโครงสร้างคล้ายยาสแตตินที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์ การรับประทานไม่ถูกวิธีอาจส่งผลเสียต่อร่างกาย อย่างที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ถือว่าข้าวยีสต์แดงบางยี่ห้อเป็น “ยา” ไม่ใช่อาหารเสริม จึงควรใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์

  • ระวังอาการแพ้ โดยเฉพาะคนที่ยังไม่เคยกินข้าวยีสต์แดงมาก่อน
  • ไม่ควรกินข้าวยีสต์แดงเพื่อหวังผลในการรักษาโรค และเพื่อเลี่ยงการกินยาแผนปัจจุบันตามที่แพทย์สั่ง
  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับหรือไต หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ต้องกินยาเป็นประจำ ไม่ควรใช้ข้าวยีสต์แดง
  • เด็ก หญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตร ไม่ควรรับประทาน

สรุป ข้าวยีสต์แดง คืออะไร อาหารพื้นเมืองของชาวจีน ที่นำเม็ดข้าวมาผ่านกระบวนการหมักกับยีสต์ราจยกลายเป็นสีแดง ซึ่งมีทั้งประโยชน์และเป็นโทษต่อร่างกาย โดยข่าวล่าสุดของประเทศญี่ปุ่นเรียกคืนผลิตภัณฑ์ข้าวยีสต์แดง ชื่อ Beni-koji choleste-help หลังพบผู้เสียชีวิตถึง 93 ราย มีการระบุว่า ผลิตภัณฑ์ที่ทำให้เกิดเหตุในญี่ปุ่นเป็นผลิตภัณฑ์ลดคลอเรสเตอรอล ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอาจใช้สารสำคัญโมนาโคลินในปริมาณสูงกว่าที่กำหนดทำให้เกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น เนื่องจากญี่ปุ่นไม่จำกัดปริมาณการใช้ และ อย. ไม่ได้อนุญาตให้นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย


ขอบคุณเนื้อหาจาก : wikipedia

เป็นกำลังใจช่วยแชร์หน่อยค่ะ



ball