กติกาบาสเกตบอล 3x3
บาสเก็ตบอล 3×3 เป็นอีกกีฬาชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ด้วยรูปแบบเกมที่สนุก รวดเร็ว ตื่นเต้น เร้าใจ ที่สามารถเล่นในสนามบาสได้เลย แต่เล่นเพียงแค่ครึ่งสนามโดยทีมละ 3 คน หรือ 4 คน โดยผู้เล่นตัวจริงลงสนาม 3 คน และมีผู้เล่นสำรองไว้ 1 คน ซึ่งบาสเก็ตบอลรูปแบบย่อนี้ออกเสียงว่า “ทรีเอ็กซ์ทรี” ซึ่งได้รับการยอมรับให้เป็นกีฬาอาชีพในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 เกมนี้เน้นที่ความเร็ว ความคล่องตัว และความคล่องตัวมากกว่าความอดทนและกลยุทธ์ที่เป็นระบบของบาสเก็ตบอล 5×5 แบบดั้งเดิม ซึ่งเรามาลองทำความเข้าใจถึง กติกาบาสเกตบอล 3×3 ว่าวิธีเล่นบาสเก็ตบอลทีม 3 คนเล่นอย่างไร เรามาทำความเข้าใจ และเรียนรู้กฎการเล่นไปพร้อมกันได้เลย

การดังค์ คืออะไร ทำความเข้าใจเรื่องดังค์ ห่วงแบบไหนทำได้หรือไม่ได้ 

กติกาบาสเกตบอล 3×3 เป็นอย่างไร ลองมาทำความเข้าใจไปพร้อมกัน

บาสเกต บอล 3×3 เป็นชนิดกีฬาที่มีการแข่งขันครั้งแรกในเอเชียนเกมส์ 2018 ที่ประเทศอินโดนีเซีย การแข่งขันจะแบ่งเป็นทีมละ 3 คนโดยใช้เพียงแป้นเดียว และลูกบาสเกตบอลมาตรฐานสำหรับการเล่น แต่ละทีมสามารถมีผู้เล่นทีมละ 4 คน โดยผู้เล่นตัวจริงลงสนาม 3 คน และมีผู้เล่นสำรองไว้ 1 คน โดยมี กติกาบาสเกตบอล 3×3 ดังนี้

1. สนามแข่งขัน และลูกบาสเกตบอล
การแข่งขันจะแบ่งเป็นทีมละ 3 คนโดยใช้เพียงแป้นเดียว ขนาดสนามบาสเกตบอล 3 คนมาตรฐานคือ ยาว 15 เมตร กว้าง 11 เมตร สนามจะต้องมีแป้นทำคะแนนขนาดมาตรฐานรวมทั้ง เส้นชู้ตโทษ (5.80 เมตร) เส้นเขตสองคะแนน (6.75 เมตร) และเขตห้ามฟาล์ว บริเวณใต้แป้นด้าน ทั้งนี้สามารถแข่งขันครึ่งสนามของสนามบาสเกตบอลปกติได้ และลูกแข่งขันสามารถใช้ได้กับการการแข่งขันทุกประเภท
หมายเหตุ – การเล่นโดยทั่วไป สามารถเล่นได้ทุกที่ที่มีแป้นบาสเกตบอล – มีเส้นเขตสนาม – หากมีพื้นที่จำกัด – สามารถปรับใช้กับพื้นที่ที่พอเพียง

2.ทีม
แต่ละทีมสามารถมีผู้เล่นทีมละ 4 คน (ผู้เล่นตัวจริงที่ลงสนาม 3 คน และผู้เล่นสำรอง 1 คน)

3. ผู้ตัดสิน
การแข่งขันสามารถใช้ผู้ตัดสิน 1-2 คน และผู้บันทึกคะแนน

4. เริ่มการแข่งขัน
4.1 ทั้งสองทีมสามารถทำการอบอุ่นร่างกาย ก่อนการแข่งขันในสนามได้
4.2 โยนเหรียญเพื่อเลือกสิทธิ์การส่งลูกก่อน ทีมที่ชนะการเสี่ยงสิทธิ์สามารถเลือกเล่นลูกก่อน หรือหลังก้อได้
4.3 เริ่มการแข่งขันโดยผู้เล่นทีมละ 3 คน
หมายเหตุ – ข้อ 4.3 และ 6.4 ใช้เฉพาะการแข่งขันเป็นทางการของ FIBA* เท่านั้น (ไม่จำกัดสำหรับการเล่นทั่วไป)
การแข่งขันที่เป็นทางการของ FIBA ประกอบด้วย โอลิมปิก, ชิงแชมป์โลก (รวมถึงยู18), ชิงแชมป์ทวีป (รวมถึงยู18), เวิร์ลทัวร์ และรวมดารา

5. การทำคะแนน
5.1 การชู้ตทำคะแนนในเขตเส้นโค้ง นับ 1 คะแนน
5.2 การชู้ตทำคะแนนนอกเขตเส้นโค้ง นับ 2 คะแนน
5.3 การชู้ตโทษ นับ 1 คะแนน

6. เวลาการเล่น
6.1 การแข่งขันปกติดังนี้: แข่งขันรอบเดียว 10 นาที หยุดเวลาเมื่อบอลตาย หรือมีการชู้ตโทษ เริ่มเวลาอีกครั้งเมื่อเริ่มการเล่นใหม่ (เวลาเริ่มเมื่อลูกถูกส่งให้ผู้เล่นฝ่ายรุก)
6.2 ก็ตามหากทีมใดทำคะแนนได้ 21 คะแนนก่อนหมดเวลาการแข่งขันปกติ ถือเป็นทีมชนะ กติกานี้เฉพาะการแข่งขันปกติ (ไม่ใช่การแข่งขันในเวลาพิเศษ)
6.3 หากเสมอกันในเวลาปกติ จะเล่นช่วงต่อเวลาพิเศษ 1 นาที ทีมใดทำคะแนนได้ 2 คะแนนก่อน เป็นทีมชนะ
6.4 หากทีมไม่มาทำการแข่งขันในเวลาที่กำหนด หรือ ผู้เล่นไม่ครบ 3 คน ให้ปรับเป็นแพ้ ในกรณีถูกปรับแพ้คะแนนจะให้เป็น W-0 หรือ 0-W (W คือผู้ชนะ)
6.5 จะให้ทีมแพ้ทันที หากออกจากสนามก่อนหมดเวลา หรือมีผู้เล่นบาดเจ็บ และ/หรือถูกปรับเป็นแพ้ ทีมชนะสามารถเลือกที่จะเก็บคะแนนในการแข่งขันหรือคะแนนที่ถูกปรับโทษ และทีมแพ้คะแนนจะเป็น 0
6.6 ทีมที่แพ้เพราะถูกปรับแพ้ หรือ ถูกลงโทษ ให้ปรับออกจากการแข่งขันนั้นๆ ทันที
หมายเหตุ – หากไม่มีนาฬิกาที่สามารถหยุด/เริ่มเวลา และ/หรือไม่สามารถทำคะแนนเพื่อให้จบการแข่งขันในช่วงเวลาพิเศษได้ FIBA แนะนำให้กำหนดเพดานคะแนนในเวลาที่กำหนดดังนี้ (แข่งขัน 10 นาที/ 10 คะแนน, แข่งขัน 15 นาที/ 15 คะแนน, แข่งขัน 21 นาที/ 21 คะแนน)

7. การฟาล์ว และโยนโทษ
7.1 ทีมจะได้โยนโทษทุกครั้ง เมื่อมีการทำฟาล์วรวม 6 ครั้งไปแล้ว ผู้เล่นจะไม่นับการทำฟาล์วบุคคล ตามข้อ 15
7.2 การทำฟาล์วขณะชู้ตทำคะแนนในเขตเส้นโค้งได้โยนโทษ 1 ครั้ง หากทำฟาล์วขณะชู้ตทำคะแนนนอกเขตเส้นโค้งได้โยนโทษ 2 ครั้ง
7.3 ทำฟาล์วขณะชู้ตและลูกลงห่วง ได้คะแนน และให้โยนโทษ 1 ครั้ง
7.4 ฟาล์วทีมครั้งที่ 7, 8 และ 9 ให้โยนโทษ 2 ครั้ง ฟาล์วครั้งที่ 10 และต่อๆไป ให้โยนโทษ 2 ครั้งและได้เล่นลูก ทั้งนี้ให้รวมถึงการฟาล์วขณะที่จะชู้ตทำคะแนน และตามกติกาข้อ 7.2 และ 7.3
7.5 การฟาล์วเทคนิคทุกครั้งได้โยนโทษ 1 ครั้ง และได้เล่นลูก ในขณะที่การทำฟาล์ว unsportsmanlike ให้โยนโทษ 2 ครั้งและได้เล่นลูก เริ่มเล่นอีกครั้งเขตสนามด้านบน เมื่อมีการฟาล์วเทคนิคและฟาล์ว unsportsmanlike
หมายเหตุ – ไม่มีการโยนโทษหากเป็นฟาล์วของทีมรุก

8. อย่างไรคือการเอามาเริ่มเล่น
8.1 เมื่อการชู้ตได้คะแนน หรือการโยนโทษครั้งสุดท้าย (ยกเว้นต้องไปเริ่มครองบอล)
– ผู้เล่นทีมฝ่ายรุกที่ทำคะแนนไม่ได้ เล่นลูกโดยการเลี้ยงบอลหรือส่งบอลจากในสนามใต้แป้น (ไม่ใช่จากเส้นท้าย) แทนที่จะเป็นเส้นด้านบนสนาม
– ทีมฝ่ายรับไม่มีสิทธิ์เล่นบอลในเขตห้ามฟาล์วบริเวณใต้แป้น
8.2 เมื่อการชู้ตไม่ได้คะแนน หรือการโยนโทษครั้งสุดท้าย (ยกเว้นต้องไปเริ่มครองบอล)
– ถ้าทีมฝ่ายรุกสามารถรีบาวด์ลูกได้ อาจจะพยายามทำคะแนนโดยไม่ต้องกลับไปเล่นลูกด้านบนสนาม
– ถ้าทีมฝ่ายรับสามารถรีบาวด์ลูกได้ ต้องส่งบอลกลับไปเริ่มเล่นด้านบนสนาม (โดยการส่ง หรือเลี้ยงบอล)
8.3 ถ้าฝ่ายรับสามารถขโมย หรือแย่งลูกได้ ต้องส่งบอลกลับไปเริ่มเล่นด้านบนสนาม (โดยการส่ง หรือเลี้ยงบอล)
8.4 การเปลี่ยนการครองบอลของทั้งทีมใดทีมหนึ่ง เมื่อบอลตาย ให้เริ่มต้นด้วยการเช็คบอล เช่น เปลี่ยนการครองบอล (ระหว่างผู้เล่นฝ่ายรับ และผู้เล่นฝ่ายรุก) ด้านบนสนาม
8.5 เมื่อผู้เล่นออกนอกสนาม เมื่อขาข้างหนึ้งออกนอกสนาม หรือเหยียบเส้น
8.6 ในการจัมพ์บอล ทีมฝ่ายรับจะได้เล่นลูก

9. การถ่วงเวลา
9.1 ถ่วงเวลา หรือไม่พยายามเล่น อาจถูกลงโทษ
9.2 ถ้าการแข่งขันมี ช็อตคล็อก ทีมฝ่ายรุกจะต้องพยายามทำคะแนนภายใน 12 วินาที การจับเวลาจะเริ่มเมื่อลูกบอลอยู่ในมือผู้เล่นฝ่ายรุก (เมื่อมีการเปลี่ยนการเล่นลูกของฝ่ายรับ หรือหลังจากทำคะแนนแล้ว)
หมายเหตุ – ถ้าไม่มีช็อตคล็อก และผู้ตัดสินเห็นว่าฝ่ายรุกไม่พยายามทำคะแนนในระยะเวลาพอสมควรแล้ว ให้เตือนทีมฝ่ายรุกถือได้ไม่เกิน 5 วินาที

10. การเปลี่ยนตัวผู้เล่นสำรอง
การเปลี่ยนตัวสำรอง สามารถเปลี่ยนได้เมื่อบอลตาย ก่อนที่เช็คบอล หรือโยนโทษ ผู้เล่นสำรองสามารถลงสนามได้ เมื่อผู้เล่นที่เปลี่ยนออกก้าวออกนอกสนามแล้ว หรือได้รับสัญญาณการเปลี่ยนตัวที่ผู้ตัดสินแจ้งให้กับเจ้าหน้าที่เทคนิค

11.การขอเวลานอก
11.1 แต่ละทีมสามารถขอเวลานอกได้ทีมละ 1 ครั้ง ผู้เล่นใดก็ได้ สามารถขอเวลานอกเมื่อบอลตาย
11.2 ในกรณีมีการถ่ายทอดสด ฝ่ายจัดการแข่งขันสามารถกำหนดให้มีการขอเวลานอกที่เรียกว่า “ TV Time Out” เมื่อบอลตายครั้งแรกหลังจากนาทีที่ 6.59 และ นาทีที่ 3.59
11.3 การขอเวลากำหนดให้ 30 วินาที
หมายเหตุ – การขอเวลานอก และการเปลี่ยนตัว สามารถทำได้เมื่อบอลตายเท่านั้น และไม่สามารถทำได้ขณะกำลังเล่นบอล (ข้อ 8.1)

12. การประท้วง
ในกรณีที่ทีมเห็นว่ามีผู้ตัดสินใช้กติกาผิด หรือเกิดเหตุการณ์ที่ผิดกติการะหว่างการแข่งขัน ซึ่งผลกระทบ ให้ดำเนินการดังนี้
1.ผู้เล่นของทีมนั้นควรลงชื่อในใบคะแนนทันทีหลังจบเกม ก่อนที่ผู้ตัดสินจะลงนาม
2.ภายใน 3 นาที ทีมจะต้องทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมเงิน 200 ยูเอสดอลล่า ให้กับผู้ควบคุมการแข่งขัน หากการประท้วงเป็นผลจะได้รับเงินคืน
3.ภาพบันทึกวีดีโอ จะใช้เมื่อมีการชู้ตลูกสุดท้ายเมื่อหมดเวลาเพื่อตัดสินว่าปล่อยบอลไปแล้วหรือไม่เท่านั้น และ/หรือ เพื่อตัดสินว่าเป็นการชู้ต 1 หรือ 2 คะแนน

13 การจัดอันดับทีม
ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งกลุ่ม หรือพบกันหมด ถ้าทีมมีคะแนนเท่ากัน ให้การพิจารณการจัดอันดับทีมดังนี้
1.ทีมที่ชนะมากที่สุด (หรืออัตราส่วนชนะ หากจำนวนการแข่งขันไม่เท่ากัน เปรียบเทียบเมื่อมีมีการแบ่งหลายกลุ่ม)
2.ดูจากผลการแข่งขันระหว่างทั้งสองทีม (Head to head) พิจารณาเฉพาะการแข่งขันในกลุ่มเดียวกันเท่านั้น
3.ทีมที่ทำคะแนนได้มากที่สุด (โดยไม่พิจารณาจากคะแนนที่ชนะผ่าน)
หากพิจารณาจากใน 3 ข้อข้างต้นแล้ว ยังเท่ากัน ให้ทีมที่ชนะมากที่สุด เป็นทีมที่มีอันดับดีกว่า

14. กฏทีมวาง
ทีมวางให้พิจารณาจากอันดับคะแนนของทีม (คะแนนรวมของคะแนนอันดับ 3 ผู้เล่นของทีม (Team’s 3 best players) ก่อนที่จะมีการแข่งขัน) ในกรณีที่ทีมมีคะแนนจัดอันดับเท่ากัน  ให้จับฉลากเพื่อการวาง

15. การไล่ออก
ผู้เล่นที่ทำฟาล์ว unsportsmanlike 2 ครั้ง (ไม่รวมถึงการทำฟาล์วเทคนิค) ให้ผู้ตัดสินไล่ออกจากสนาม และอาจถูกให้ออกจากการแข่งขันโดยฝ่ายจัดการแข่งขันด้วย  ทั้งนี้ฝ่ายจัดการแข่งขันอาจจะให้ผู้เล่นออกจากการแข่งขันเมื่อ เมื่อผู้เล่นใช้ความรุนแรงทางกายหรือวาจา หลอกลวง ไม่ให้ความร่วมในเรื่องสารกระตุ้นของ FIBA (ข้อ 4 ในกฏระเบียบของ FIBA) หรือละเมิดกฏจรรยาบรรณของ FIBA (ข้อ 1 วรรค 2 ในกฏระเบียบของ FIBA) ฝ่ายจัดการแข่งขันอาจจะให้สมาชิกของทีมคนอื่นออกจากการแข่งขันได้เช่นกัน (รวมถึงผู้ที่ไม่ได้กระทำ) หากมีพฤติกรรมผิดต่อวินัย FI มีสิทธิ์ลงโทษทางวินัย หากผู้เล่นแสดงพฤติกรรมนอกกรอบในการแข่งขัน ตามเงื่อนไขและข้อกำหนดของ 3x3planet.com และ กฏระเบียบของ FIBA โดยการลงโทษผู้ที่ละเมิดหรือถูกให้ออกตามข้อ 15

สรุป ทั้งนี้ กติกาบาสเกตบอล 3×3 ที่เรามาแนะนำให้ทุกท่านรู้กันนั้น เป็นไปตามวิธีการตัดสินที่รับรองโดยสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ (FIBA) รวมทั้งกฎกติกาและธรรมนูญของคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งเอเชีย (OCA) โดยถ้าจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆ การทำคะแนนของกีฬาบาสเกตบอล 3×3 จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เล่นชู้ตทำคะแนนได้ในเขตเส้นโค้งนับเป็น 1 แต้ม ชู้ตทำคะแนนนอกเขตเส้นโค้งได้ 2 แต้ม และการชู้ตโทษ นับ 1 แต้ม นั้นเอง


ขอบคุณเนื้อหาจาก : wikipedia

เป็นกำลังใจช่วยแชร์หน่อยค่ะ



ball