สถานการณ์โควิดในประเทศไทย และ ต่างประเทศ ยังคงน่าเป็นห่วงอย่างมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะกับ ประเทศไทย ที่ผ่านมาดูเหมือนจะไม่มีอะไรดีขึ้น เป็นชิ้นเป็นอันเลย ซ้ำร้ายยังมี สายพันธุ์โควิด วายร้ายตัวใหม่ ๆ ผุดขึ้นมาสร้างความกังวลใจเพิ่มอยู่เสมอ ก่อนนี้ก็ เดลต้า ล่าสุดมี แลมบ์ดาโควิด ที่เขาว่ากันว่า อันตรายกว่า เดลต้า โผล่มาอีกแล้ว และ เป็นสายพันธุ์โควิด ที่ต้องจับตามองเป็นอย่างมา บทความนี้เลยพาเพื่อน ๆ ไปทำความรู้จักกับเจ้าโควิดวายร้าย โควิดแลมบ์ดา กันก่อนสักหน่อย
โควิดแลมบ์ดา คืออะไร
แลมบ์ดาโควิด สายพันธุ์ไวรัสโคโรนากลายพันธุ์ที่กำลังระบาดหนักในสหรัฐอเมริกา ล่าสุดหน่วยงาน CDC เฝ้าระวังเตรียมปรับเป็นไวรัสสายพันธุ์น่ากังวล VOC (Variant of Concern)
ในอนาคต ซึ่ง โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา (C.37) นี้พบการระบาดมากขึ้น และมีแนวโน้มระบาดรุนแรง พบผู้ติดเชื้อใน 30 ประเทศ พันธุกรรมของโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดาแตกต่างไปจากสายพันธุ์อู่ฮั่น สายพันธุ์เบตา และสายพันธุ์เอปไซลอน จึงมีโอกาสปรับเป็นไวรัสสายพันธุ์น่ากังวล VOC (Variant of Concern) ในเร็ว ๆ นี้
คุณลักษณะที่น่ากลัวของ โควิดแลมบ์ดา
- มีโอกาสติดต่อแพร่กระจายเร็วกว่าสายพันธุ์เดิม
- มีความรุนแรงของโรคมากกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม
- ลดประสิทธิภาพชุดตรวจ ลดประสิทธิภาพภูมิคุ้มกัน ดื้อต่อวัคซีน ลดประสิทธิภาพการรักษาที่มีอยู่ ลดประสิทธิภาพของมาตรการด้านสาธารณสุขสังคม
โชคยังดีตามข้อมูลที่มีอยู่ ณ ตอนนี้จาก ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี พบว่า สายพันธุ์โควิดที่กำลังระบาดหนักในสหรัฐอเมริกา ทั้งสายพันธุ์แลมบ์ดา (Lambda) และสายพันธุ์เอปไซลอน (Epsilon) ยังไม่พบผู้ติดเชื้อในไทย
ประวัติ ที่มาโควิดแลมบ์ดา
หลังจากที่ WHO ประกาศเปลี่ยนชื่อสายพันธุ์โควิด-19 ด้วยอักษรกรีก ให้แก่สายพันธุ์โควิดกลายพันธุ์ที่กำลังระบาดทั่วโลก เพื่อให้ง่ายต่อการเรียก และแทนการใช้ชื่อประเทศต่างๆ องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศชื่อโควิดสายพันธุ์เปรูนี้ว่า โควิดแลมบ์ดา (Lambda) ในวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ.2564
โควิดแลมบ์ดา กลายพันธุ์ตำแหน่งที่ L452Q และ D253N พบการรายงานครั้งแรกที่ประเทศเปรู ในเดือนธันวาคม พ.ศ.2563 พบการระบาดใน 30 ประเทศทั่วโลก และมีข้อมูลว่าสายพันธุ์แลมบ์ดานี้อาจดื้อต่อวัคซีนมากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ และยังแพร่เชื้อได้มากกว่าสายพันธุ์อัลฟาและแกมมา
ตั้งแต่รายงานการกลายพันธุ์ของสายพันธุ์ C.37 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2563 พบว่าในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ.2564 ประเทศเปรูมีผู้ติดเชื้อสายพันธุ์นี้มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2564 พบการระบาดกระจายไปทั่วสหรัฐอเมริกา และตรวจพบในอีก 29 ประเทศ อาทิ อาร์เจนตินา ชิลี และเอกวาดอร์
ประเทศที่มีการยืนยันว่า มีผู้ติดชื้อโควิดแลมบ์ดา
( ข้อมูล ณ วันที่ 8 กรกฎาคม 2564)
- ชิลี
- สหรัฐอเมริกา
- เปรู
- เยอรมนี
- เม็กซิโก
- อาร์เจนตินา
- เอกวาดอร์
- สเปน
- อิสราเอล
- กัมพูชา
- ฝรั่งเศส
- อิตาลี
- เซนต์คิตส์และเนวิส
- สวิตเซอร์แลนด์
- อียิปต์
- สหราชอาณาจักร
- บราซิล
- แคนาดา
- โปแลนด์
- อารูบา
- ออสเตรเลีย
- คูราเซา
- สาธารณรัฐเช็ก
- เดนมาร์ก
- เนเธอร์แลนด์
- โปรตุเกส
- ตุรกี
- อุรุกวัย
- ซิมบับเว
สายพันธุ์โควิด ในประเทศไทย ตอนนี้มีกี่สายพันธุ์
สามารถรับข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : คลิกที่นี่
อ้างอิง : คลิกที่นี่
Pingback: โควิดสายพันธุ์เดลต้า คืออะไร อันตรายแค่ไหน มาทำความรู้จัก โควิดตัวร้ายกันเถอะ
Pingback: สายพันธุ์โควิด ในประเทศไทย ตอนนี้มีกี่สายพันธุ์ แล้วมี วัคซีนโควิด อะไรแล้วบ้าง