กติกาเทนนิส

กีฬาเทนนิส เป็นอีกหนึ่งกีฬายอดนิยมในประเทศไทย ในระยะหลัง 10 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะหลังจาก ภราดร ศรีชาพันธุ์ นักเทนนิสไทย ที่ได้ไปสร้างผลงานอันยอดเยี่ยมบนเวทีโลก จนก้าวขึ้นไปติดอันดับ 9 ของโลก จนกลายเป็นไอดอลของเด็ก ๆ จนหันมานิยมเล่นกันเป็นจำนวนมาก บทความนี้เลยขอพาเพื่อน ๆ ไปทำความเข้าใจกับ กติกาเทนนิส และ การเล่นเทนนิสพื้นฐาน มาให้เพื่อน ๆ ได้ทำความเข้าใจกัน

 ความเป็นมา : กีฬาเทนนิส มีจุดเริ่มต้นอย่างไร

กติกาเทนนิส และ การเล่นเทนนิสพื้นฐาน

ผู้เสิร์ฟและผู้รับ

ผู้เล่นจะต้องอยู่คนละฝั่งของตาข่าย ผู้ที่ส่งลูกก่อนคือ “ผู้เสิร์ฟ” ส่วนอีกฝ่ายคือ “ผู้รับ” ในกรณีที่ผู้เล่นพยายามเสิร์ฟลูกล้ำแนวเส้นสมมติที่ลากตรงต่อจากตาข่ายออกไป จะถือว่าไม่เสียแต้ม เว้นแต่ผู้เล่นจะเสิร์ฟล้ำเข้าไปในสนามของคู่ต่อสู้ ทั้งนี้ผู้รับสามารถยืนอยู่ในตำแหน่งใดของสนามในด้านของตนเองก็ได้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องอยู่ในเส้นขอบของสนาม

การเลือกแดนและเลือกเสิร์ฟ

การเลือกแดนและการเลือกเสิร์ฟ จะชี้ขาดด้วยการเสี่ยง โดยผู้เล่นที่เป็นผู้ชนะ มีสิทธิ์เลือกก่อนหรือให้คู่ต่อสู่เลือกก่อนก็ได้

การเสิร์ฟ

ก่อนเสิร์ฟ ผู้เล่นที่เป็นฝ่ายเสิร์ฟต้องยืนข้างหลังเส้นด้วยเท้าทั้งสองข้าง (ให้เส้นหลังอยู่ระหว่างตาข่ายกับผู้เสิร์ฟ) โดยอยู่ระหว่างเส้นสมมติที่ลากตรงต่อออกไปจากจุดกึ่งกลาง จากนั้นให้ผู้เล่นที่เป็นฝ่ายเสิร์ฟ ใช้มือโยนลูกขึ้นไปในอากาศ แล้วใช้ไม้เทนนิสตีลูกนั้นก่อนที่จะตกถึงพื้น เมื่อไม้สัมผัสลูก ถือว่าการเสิร์ฟเสร็จสิ้น

การเสิร์ฟลูกที่สอง

เมื่อเสิร์ฟลูกแรกเสีย ผู้เสิร์ฟจะต้องเสิร์ฟอีกลูกหนึ่งจากหลังสนามด้านเดิมที่เสิร์ฟลูกแรกไปแล้ว แต่ในกรณีลูกแรกที่เสิร์ฟเสียนั้นเป็นเพราะผู้เสิร์ฟยืนผิดด้าน ให้ผู้เสิร์ฟ เสิร์ฟใหม่อีก 1 ลูก จากหลังอีกด้านหนึ่ง

ลูกเสิร์ฟเสีย

ในกรณีที่ถือว่า ลูกเสิร์ฟเสีย มีดังนี้

1. ผู้เสิร์ฟทำผิดกติกา

2. ผู้เสิร์ฟตีลูกอย่างเจตนา แต่ไม่ถูก

3. ลูกที่เสิร์ฟไปนั้น สัมผัสสิ่งติดตั้งถาวรอย่างใดอย่างหนึ่ง ก่อนสัมผัสพื้น (ยกเว้นตาข่ายและแถบขึงตาข่าย)

แต่ในกรณีที่หลังจากโยนลูกเพื่อเสิร์ฟแล้ว ผู้เสิร์ฟเปลี่ยนใจไม่ตีลูกแล้วใช้มือรับลูกไว้ จะถือว่าลูกนั้นไม่เสีย

ลำดับการเสิร์ฟ

เมื่อจบเกมแรก ผู้รับจะต้องเปลี่ยนเป็นผู้เสิร์ฟ และผู้เสิร์ฟต้องเปลี่ยนเป็นผู้รับ สลับกันเรื่อยไปจนกว่าจะจบการแข่งขัน แต่ถ้าผู้เล่นคนใดเสิร์ฟผิดรอบ ผู้เล่นที่ควรจะเป็นผู้เสิร์ฟจะต้องเป็นผู้เสิร์ฟต่อไปทันที

กติกาเทนนิส

การขานเล็ท (Let)

คำว่า “เล็ท” ที่กรรมการเป็นผู้ขานขึ้น เพื่อหยุดยั้งการเล่น มีความหมายดังนี้

1. ขานเมื่อให้เสิร์ฟลูกนั้นใหม่

2. ขานเมื่อให้เล่นแต้มนั้นใหม่

การขานเล็ท ในขณะเสิร์ฟ หมายถึง

1. การที่ลูกเสิร์ฟไปสัมผัสตาข่าย หรือแถบขึงตาข่าย แล้วตกในสนามที่ถูกต้อง

2. การที่เสิร์ฟในขณะผู้รับไม่พร้อมที่จะรับ ไม่ว่าจะเป็นการเสิร์ฟที่ดีหรือเสียก็ตาม
ทั้งนี้เมื่อมีการเสิร์ฟที่เป็นเล็ท จะไม่มีฝ่ายใดได้แต้ม

การเปลี่ยนข้าง

ผู้เล่นจะต้องเปลี่ยนข้างเมื่อจบเกมที่หนึ่ง เกมที่สอง และทุก ๆ เกมคี่ของแต่ละเซต และต้องเปลี่ยนข้างเมื่อจบเซตรวมกันแล้วเป็นเลขคู่

กติกาเทนนิส

สอนเล่นเทนนิส เทคนิคพื้นฐาน ที่มือใหม่ควรรู้

วิธีนับแต้มในแต่ละเกม

วิธีการนับแต้มของกีฬาเทนนิส คือ แต้มที่ 1 นับ 15 แต้มที่ 2 นับ 30 แต้มที่ 3 นับ 40 หากผู้เล่นคนใดได้แต้มที่ 4 ก่อน จะถือว่าเป็นผู้ชนะในเกมแต่ถ้าในกรณีที่ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายได้แต้มสามแต้มเท่ากันให้ขานแต้มว่า ดิวซ์ (Deuce) ฝ่ายได้แต้มก่อนให้ขานแต้มว่า ได้เปรียบ และถ้าผู้เล่นคนเดิมได้แต้มต่อไปอีกหนึ่งแต้ม ผู้เล่นคนนั้นชนะในเกมทันที แต่หากยังไม่ได้แต้ม ต้องมาดิวซ์กันใหม่จนกว่าจะมีฝ่ายใดได้ 2 แต้มติด จึงจะเป็นผู้ชนะในเกมนั้น

ส่วนที่มาของการนับแต้ม 15, 30, 40 มาจากสมัยก่อนใช้นาฬิกาในการขึ้นคะแนน โดยเข็มสั้นและเข็มยาวเป็นตัวแทนผู้เล่น มีวิธีการนับดังนี้

แต้มที่ 1 นับ 15 เลื่อนเข็มนาฬิกาไปที่เลข 3 ขานแต้มว่า Fifteen

แต้มที่ 2 นับ 30 เลื่อนเข็มนาฬิกาไปที่เลข 6 ขานแต้มว่า Thirty

แต้มที่ 3 ในกีฬาเทนนิสจะนับ 45 เลื่อนเข็มนาฬิกาไปที่เลข 9 ขานแต้มว่า Forty-five จนกระทั่งปี ค.ศ. 1875 สโมสร Marylebone Cricket Club (MCC) ในอังกฤษซึ่งเป็นผู้ออกกฎกติกาเทนนิสสมัยใหม่ ได้เปลี่ยนมานับแต้มที่สามเป็น 40 หรือ Forty แทน เพื่อให้กรรมการออกเสียงง่ายขึ้น

แต้มที่ 4 เข็มนาฬิกาไปที่เลข 12 ขานแต้มว่า เกมส์ (Game) เป็นอันจบเกม

การได้แต้ม

ผู้เสิร์ฟจะได้แต้มเมื่อ

1. ลูกที่เสิร์ฟที่ไม่ได้เป็นเล็ทดังที่ระบุไว้ว่า ลูกไปสัมผัสผู้รับหรือสิ่งที่ผู้รับสวมหรือถืออยู่ก่อนที่จะสัมผัสพื้น

2. ผู้รับทำเสียแต้ม

โอกาสที่ผู้รับได้แต้ม

ผู้รับจะได้แต้มเมื่อ

1. ผู้เสิร์ฟเสียสองลูกติดต่อกัน

2. ผู้เสิร์ฟทำเสียแต้ม

การเสียแต้ม

ผู้เล่นจะเสียแต้มเมื่อ

1. ผู้เล่นไม่สามารถตีลูกที่อยู่ในการเล่นให้ข้ามตาข่ายกลับไปก่อนที่ลูกจะสัมผัสพื้นสองครั้งได้

2. ผู้เล่นตีลูกที่อยู่ในการเล่นไปสัมผัสพื้น สิ่งติดตั้งถาวร หรือวัตถุอื่นใดซึ่งอยู่นอกเส้นที่ล้อมรอบสนามของคู่ต่อสู้

3. ผู้เล่นตีลูกก่อนลูกตกถึงพื้น แต่เสีย แม้จะยืนอยู่นอกสนามก็ตาม

4. ผู้เล่นใช้ไม้เทนนิสสัมผัสลูกหรือตีลูกที่อยู่ในการเล่นมากกว่าหนึ่งครั้ง

5. ไม้เทนนิสหรือสิ่งที่ผู้เล่นสวมหรือถืออยู่ สัมผัสตาข่าย เสา ไม้ค้ำตาข่าย เชือกขึงตาข่าย แถบขึงตาข่าย แถบหุ้มตาข่าย หรือสนามของคู่ต่อสู้ ในขณะที่ลูกอยู่ในการเล่น

6. ผู้เล่นตีลูกก่อนที่ลูกจะตกถึงพื้นหรือก่อนที่ลูกนั้นข้ามตาข่ายมา

7. ลูกที่อยู่ในการเล่น สัมผัสร่างกายของผู้เล่นหรือสิ่งที่ผู้เล่นสวมอยู่ เว้นแต่ไม้เทนนิสที่ถืออยู่

8. ผู้เล่นขว้างไม้เทนนิสไปถูกลูก

9. ผู้เล่นตั้งใจทำให้รูปร่างของไม้เทนนิสที่ใช้ตีอยู่เปลี่ยนแปลงในระหว่างการเล่นแต้ม

เกมไทเบรก

เกมไทเบรก คือ การเล่นเกมสุดท้ายอันเป็นเกมตัดสิน ในกรณีที่เกมดำเนินมาถึง 6-6 หากผู้เล่นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำคะแนนถึง 7 พอยท์เป็นคนแรก ผู้เล่นคนนั้นก็จะเป็นผู้ชนะในเกมเซต ซึ่งเกมไทเบรกจะดำเนินต่อไปจนกว่าจะมีผู้เล่นทำคะแนนนำไปได้ 2 พอยท์ อาทิ 9-7, 16-14 เป็นต้น

การนับแต้มระบบไทเบรก

ใช้ระบบนับแต้มที่เรียกว่า “No Ad Scoring” ซึ่งเป็นวิธีการนับเลขแบบก้าวหน้าเรียงขึ้นไปตามลำดับคือ แต้ม 1, 2, 3, … หากผู้เล่นคนใดได้  7แต้มก่อน ถือว่าเป็นฝ่ายชนะในเซตนั้น

เป็นอย่างไรบ้างกับ กติกาเทนนิสและ การเล่นเทนนิสพื้นฐาน ที่เราเอามาฝากกันในบทความนี้ สำหรับใครที่กำลังมอง ๆ อยู่ อยากเล่น ลองมาทำความเข้าใจพื้นฐานเหล่านี้กันดูก่อนได้นะ


สามารถรับข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : คลิกที่นี่

อ้างอิง : คลิกที่นี่

เป็นกำลังใจช่วยแชร์หน่อยค่ะ



ball